วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เฮติ

ความเชื่อมโยงกับญี่ปุ่น
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเฮติ มีความเชื่อมโยงกับประเทศญี่ปุ่นคือ ประเทศญี่ปุ่นก็มักจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวอยู่บ่อยๆเช่นกัน ไม่เพียงแต่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวแต่ยังมี สึนามิ อาฟเตอช็อค ที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ประเทศเฮติครั้งนี้ทำให้เกิดความเสียหายอาคารบ้านเรือน ทรัพสิน และเกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บของประชากรประเทศเฮติอีกมากมาย เช่นเดียวกันกับประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับความเสียหายมากมายจากเหตุการเหล่านี้เช่นกัน

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สื่อกราฟิก



" กราฟิก " (Graphic) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำและคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น ....เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกัน..วัสดุกราฟิกหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน
งานกราฟิก หมายถึง งานการวางแผนทางศิลปะและการทำหัวเรื่อง โดยรู้ขนาดและสัดส่วนหลักในการออกแบบ รวมถึงการใช้สีเป็นองค์ประกอบเพื่อเน้นและดึงดูดความสนใจให้มากขึ้น และเป็นการช่วยให้ได้รายละเอียดชัดเจนของวัสดุที่ใช้ประกอบการสอน และยังมีความหมายรวมไปถึงการผนึกภาพ ภาพถ่าย รูปถ่าย อีกด้วยคุณค่าของงานกราฟิก
งานกราฟิกที่ดีจำทำให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ จะมีอิทธิพลโดนตรงที่จะโน้มน้าวผู้รับข้อมูล ให้เกิดความสนใจ การยอมรับ ในขณะเดียวกันยังแสดงถึง
1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจตรงกัน
2. สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายได้
3. ช่วยให้งานเกิดความน่าสนใจ ประทับใจ แก่ผู้พบเห็น
4. ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิด และการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
5. ก่อให้เกิดความคิกสร้างสรรค์6. ทำใหู้พบเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งทางด้านการกระทำและความคิด


การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอนสีและการใช้สี
สี (Colors) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการออกแบบสื่อสองมิติ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการออกแบบหน้าจอแสดงผล เพราะนอกเหนือไปจากให้ความสวยงามให้ความเหมือนจริงของสิ่งที่อยู่ภายในภาพแล้ว สียังช่วยชี้ให้เห็นถึงความคล้ายคลึง ความแตกต่าง และความสำคัญได้อย่างชัดเจนในแง่มุมของจิตวิทยา สีสามารถให้ความรู้สึกทางอารมณ์กับผู้ดู(ผู้เรียน) ดังนี้
สีแดง : เป็นสีที่เด่นสะดุดตาเหมาะสำหรับการเน้นความสำคัญของส่วนต่าง ๆ เนื่องจากสีแดงเป็นสีที่แสดงออกถึงการแข่งขัน ความตื่นเต้น ภัยอันตราย ความกล้าหาญและอำนาจการใช้สีแดงจัดจ้านในเนื้อที่กว้าง ๆ จะมีผลทำให้ผู้เรียนสายตาอ่อนล้าเมื่อจ้องมองภาพนาน ๆ
สีน้ำเงิน : เป็นสีที่บอกถึงความปลอดภัย สงบเยือกเย็น ความมั่นใจ ความรอบรู้ มีน้ำใจ มีคุณธรรม และความกลมเกลียวเป็นสีที่ให้ความรู้สึกที่ตรงข้ามกับสีแดง แต่ถ้าลดความเข้มของสีน้ำเงินจะทำให้มีบรรยากาศร่าเริงแจ่มใสขึ้น
สีเขียว : ให้ความรู้สึกร้อนและเย็นใจขณะเดียวกัน สีเขียวแก่จะให้อารมณ์ที่สงบ ปลอดภัย ร่มเย็น ขณะที่สีเขียวอ่อนจะแสดงถึงความอบอุ่น กระฉับกระเฉง ร่าเริง ในด้านการสื่อความหมายมักนำสีเขียวมาเป็นสัญลักษณ์ของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต ส่วนของการออกแบบหน้าจอมักไม่นิยมสีเขียวควบคู่กับสีแดงในสัดส่วนเท่า ๆ กัน เพราะเป็นสีที่ตัดกันรุนแรงทำให้ผู้เรียนต้องใช้สายตามาก
สีเหลือง : เป็นสัญลักษณ์ของความสดใส ร่าเริง สง่างาม และความสุข ความสว่างของสีเหลืองทำให้ดูโดดเด่น ผู้ผลิตสามารถนำสีเหลืองมาใช้ร่วมกับสีเข้ม เช่น สีดำ เทา หรือสีน้ำเงินเข้ม จะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นขึ้น
สีม่วง : ให้ความรู้สึกลึกลับ สงบ คล้ายกับสีน้ำเงินแก่ แต่เนื่องจากสีม่วงยังมีความตื่นเต้นของสีแดงเจืออยู่ บางครั้งทำให้ดูหรูหรา สง่างาม โดยทั่วไปจะสีม่วงเป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณและปัญญา
สีน้ำตาล : ให้ความรู้สึกเรียบง่าย ทนทาน มั่นคง มักใช้เน้นวัตถุกับความเก่าแก่โบราณ บางครั้งจะใช้กับอารมณ์ที่ซึมเศร้าหดหู่ เบื่อหน่าย ในด้านของการสื่อความหมายด้วยภาพจะใช้กับบรรยากาศที่แห้งแล้ง น่าสพรึงกลัว
สีดำ : แสดงให้เห็นถึงความลึกลับ ซับซ้อน ความน่ากลัวความทุกข์ และความตาย สีดำ เมื่อนำมาใช้กับสีอื่น ๆ จะให้ความสวยงามและความรู้สึกทางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี เช่นสีดำใช้คู่กับสีขาวในสัดส่วนที่สมดุลของความสว่างของสีที่เท่า ๆ กัน อาจแสดงถึงความรอบคอบและมั่นคง เป็นต้น
สีเทา : เป็นสีกลาง ๆ ที่แสดงถึงความสุภาพ สุขุม สีเทา เป็นสีที่ไม่มีความเด่นเฉพาะตัวเหมือนสีแดงหรือสีน้ำเงิน ดังนั้นเมื่อนำสีเทาไปใช้คู่กับสีอื่น ๆ ความรู้สึกของผู้เรียนจะแตกต่างกันตามอิทธิพลของสีใกล้เคียง เช่น สีเทาคู่กับสีม่วงจะให้ความสง่างาม มั่นคง
สีขาว : เป็นสีที่คู่กับสีอื่น ๆ ได้ดี สีขาว ช่วยให้ภาพหรือข้อความมีความโดดเด่น สามารถนำมาเป็นจุดเน้นเพื่อนำสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ดี ในด้านของอารมณ์สีขาวเป็นสีที่ให้ความรู้สึกบริสุทธ์ิ สดใส ความอ่อนเยาว์

สำหรับงานศิลปะ การใช้สีเพื่อการสื่อความหมาย จะยึดการแบ่งสีเป็นสีหลัก ๆ อยู่ 3 สี คือ สีแดง น้ำเงิน และสีเหลือง เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า แม่สี และการที่มีสีเกิดขึ้นมีจำนวนมากมายตามที่พบเห็นกันในชีวิตประจำวันนั้น เป็นการผสมระหว่างแม่สีทั้งสาม ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันทำให้สีที่เกิดมีความหลากหลาย เช่น สีแดงผสมกับสีเหลืองในอัตราส่วนเท่า ๆ กันจะได้สีส้ม สีน้ำเงินผสมกับแดงจะได้สีม่วง เป็นต้นโทนของสีโทนสีหรือวรรณะของสี หมายถึง กลุ่มสีที่ปรากฏให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน สังเกตได้จากวงล้อสีธรรมชาติจะมีอู่ 2 โทน หรือ 2 วรรณะ คือ
1. โทนสีร้อน ลักษณะของสีจะให้ความสดใส ร้อนแรง ฉูดฉาดหรือรื่นเริง สีในกลุ่มนี้ ได้แก่ สีเหลือง สีแกง สีส้ม และสีไกล้เคลีย
2. โทนสีเย็นความรู้สกที่ปรากฏในภาพจะแสดงความสงเยือกเย็นจนถึงซึมเศร้า ได้แก่ สีน้ำเงิน สีม่วง สีเขียวและสีทีใกล้เคียง


การเขียนภาพการ์ตูน

สำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป แต่เขาจงใจให้มองดูเขียนขึ้นอย่างลวกๆ การให้สีหนังสือเดกมักใช้สีฉูดฉาดบาดตา ภาพการ์ตูนสำหรับเด็กอีกระดับหนึ่ง หมายถึงระดับเด็กอายุ ๑๑ - ๑๖ ปี ระยะนี้การ์ตูนประกอบเรื่องจะต้องมีความปราณีต ขบขัน สวยงาม ตลอดจนกระทั่งฝีมือในการเขียนภาพประกอบจะต้องดีพอ จึงจะสามารถดึงดูดเด็กในวัยนี้ให้สนใจได้ สีสันของภาพประกอบต้องนุ่มนวลมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นวัยที่รู้ความใสวยงามของธรรมชาติและสัตว์ได้เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก ๑๑ - ๑๖ ขวบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างจะต้องระดมความเพียรในการเขียนภาพประกอบหนังสือให้เขาด้วยความรู้สึกนึกคิดที่สุขุมรอบคอบอย่างยิ่งเป็นพิเศษ เด็กระยะนี้กำลังจะถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้นการเขียนภาพการ์ตูนประกอบเรื่องใหก้คนรุ่นนี้ดูตามความรู้สึกของผมแล้ว มีความรู้สึกว่ายากลำบากยิ่งกว่าการเขียนภาพการ์ตูนให้ผู้ใหญ่อ่านเสียอีก เด็กระยะนี้เป็นผู้ช่างคิดช่างค้น มีสมองที่กำลังเจริญอย่างรุนแรง ฉะนั้นการที่จะเขียนภาพให้เขาดูจึงต้องการความสุขุม รอบคอบและมากด้วยความเพียรอย่างยิ่ง ฉะนั้น การที่จะเขียนภาพให้เขาดูจึงต้องการความสุขุมรอบคอบ และมากด้วยความเพียรอย่างยิ่ง ผู้เขียนเอาตัวของตัวเองเป็นที่สังเกตว่า ระยะที่อายุอยู่ในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังดูดซึมสิ่งแวดล้อมอย่างกระหาย ฉะนั้นหากได้พบภาพเขียนหรือบทประพันธ์ บทกลอนใดๆ ในระยะนั้นที่ประทับใจ แล้ว ความฝังใจจะเกิดขึ้นทันที และจะประทับใจอยู่กับตัวชั่วชีวิต ทั้งในประสบการณ์ด้านดีและด้านร้าย ฉะนั้นการ์ตูนให้เด็กวัย ๑๑ - ๑๖ ขวบ อ่านนี้ จากประสบการณ์ด้วยตนเอง จึงเตือนตนอยู่เสมอมิได้ลืมว่าทั้งก่อประโยชน์มหาศาลให้แก่เด็กและอาจในทางตรงกันข้ามก็ได้"




การออกแบบตัวอักษร

นักเรียนจะต้องรู้จักกำหนดความสูง ความกว้าง และความยาวของประโยค ตัวอักษรที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อที่อย่างเหมาะสมวิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ 2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด 3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก 4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ









































วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การผลิตสื่อการสอน

ศูนย์บริการสื่อการสอน การประเมินการใช้สื่อ และการเลือกสื่อ
ศูนย์บริการสื่อการสอน
ศูนย์สื่อการเรียนการสอนคืออะไร การดำเนินการและการจัดตั้งศูนย์สื่อการเรียนการสอนในสถานศึกษาของประเทศไทย ส่วนมาก จะดำเนินการเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่สมบูรณ์ มีศูนย์สื่อการเรียนการสอนเพื่อให้บริการครูและนักเรียน โดยไม่ได้คำนึงว่าบทบาทของศูนย์สื่อการเรียนการสอนที่แท้จริงคืออะไร
เมอร์ริลและดรอบ (Merrill and Drob, 1997) ได้ให้ความหมายของศูนย์สื่อการสอนว่า เป็นองค์กรที่ทำกิจกรรมที่ประกอบด้วยผู้นำ, คณะทำงาน และสถานที่เก็บอุปกรณ์ หนึ่งในส่วนนั้นมีพื้นที่ในการผลิต การจัดหา การนำเสนอของวัสดุการสอน การจัดหาเพื่อพัฒนา และการวางแผนให้บริการซึ่งสัมพันธ์กัหลักสูตรและการสอน ปรัชญาพื้นฐานของการจัดองค์การและการจัดการของศูนย์ สื่อการเรียนการสอน คือประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเพื่อการเรียนรู้สามารถ ควบคุม ประสิทธิภาพให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่าย การให้บริการ การให้คำปรึกษา อย่างมืออาชีพบนกระบวนการที่ได้มาตรฐาน เป็นองค์กรที่เป็นศูนย์กลางและจัดการระบบควบคุม ทั้งหมด เพื่อเรียนรู้ (Wang, 1994) อาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ศูนย์สื่อการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดองค์กรเพื่อการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ลักษณะของศูนย์สื่อการเรียนการสอน
1. ศูนย์สื่อเพื่อการผลิตและเผยแพร่ (Production and Distribution) เป็นศูนย์ที่ทำหน้าที่ ในการผลิตสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา การผลิตสื่อการสอนในรายวิชาต่าง ๆ การจัดผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดการสอน จัดอบรมการผลิตสื่อและจำหน่ายสื่อให้กับผู้สนใจ
2. ศูนย์สื่อเพื่อให้บริการและสนับสนุนการเรียนการสอน (Service and Support) เป็นศูนย์ที่ให้บริการสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งอุปกรณ์การสอน การให้คำปรึกษา และข้อแนะนำในการใช้สื่อเป็นศูนย์ที่มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายมีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์สื่อให้บริการยืม และสนับสนุนการเรียนการสอน และเป็นศูนย์ที่ทุกคนเข้ามาใช้ประโยชน์ได้
3. ศูนย์สื่อครบวงจรเป็นศูนย์ที่รวมรูปแบบของศูนย์สื่อเพื่อผลิตและบริการเข้าไว้ใน รูปแบบเดียวกัน เป็นศูนย์ที่มีการจัดพื้นที่ในการผลิต และให้บริการสื่อทุกประเภท ติดตั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้บริการกับผู้ใช้ มีการฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา จัดอบรมการผลิตสื่อและเผยแพร่นวัตกรรม ให้ยืมอุปกรณ์การศึกษาและจัดจำหน่วยสื่อการสอนที่ศูนย์ผลิตขึ้น
4. ศูนย์สื่อเฉพาะทาง เป็นศูนย์ที่ดำเนินการเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งเป็นพิเศษอาจเป็นเพียงศูนย์สื่อเพื่อการผลิต ศูนย์สื่อเพื่อการบริการ หรือศูนย์สื่อที่ครบวงจรก็ได้ แต่จะทำงานเพื่อประโยชน์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
ศูนย์สื่อการเรียนการสอน
ในระดับสถาบัน วิทยาลัยหรือโรงเรียนก็จะมีระดับของศูนย์สื่อการเรียนการสอนที่แตกต่างไป มีการเรียกชื่อแตกต่างกันไป ดังนี้
ศูนย์โสตทัศนศึกษา (Audio-Visual Education Center)
ศูนย์โสตทัศน์ (Audio-Visual Center)
ศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipment Center)
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology Center)
ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Educational Communication and Technology Center) ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology and Innovation Center)
ศูนย์สื่อ (Media Center)
ศูนย์สื่อการสอน (Instructional Media Center)
ศูนย์สื่อการศึกษา (Educational Media Center)
ศูนย์บริภัณฑ์สื่อ (Media Resource Center)
ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา (Educational Resource Center)
ศูนย์สื่อการเรียนการสอน (Learning Resource Center)
ศูนย์วิทยบริการ (Academic Resources Center)
ศูนย์บริการสื่อการสอน (Media Service Center)
จะเลือกใช้สื่ออย่างไร
การเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะสื่อจะช่วยให้บทเรียนเพิ่ม ความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น สื่อบางชนิดมีประโยชน์ทางด้านการใช้ (เช่น ภาพเคลื่อนไหว ความเหมือนจริง) บางชนิดมีข้อจำกัดทางด้านการศึกษา (เช่น ขนาดห้องเรียนขนาดของชั้นเรียน) รายละเอียดคุณสมบัติเฉพาะของสื่อเหล่านี้ได้จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อให้เลือกใช้ ได้สอดคล้อง กับความต้องการของแผนการสอน
งานที่ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา เอื้อต่อการเรียนการสอน
1. การผลิตเอกสารคำสอน มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้สำนักวิทยบริการ โดยฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นผู้ผลิตเอกสารคำสอน โดยใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
1.1 วิทยาเขตจะเก็บเงินจากนักศึกษามาจำนวนหนึ่ง ซึ่งปีการศึกษา 2544-2545 เก็บคนละ 150 บาท ต่อภาคการศึกษา
1.2 ใช้เครื่องมือและบุคลากรฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ในการผลิตเอกสารคำสอน โดยเน้นการสนับสนุนให้เอกสารคำสอนที่อาจารย์เรียบเรียงหรือแต่งเอง สามารถพิมพ์ไปแจกนักศึกษาได้โดยไม่จำกัดจำนวน แต่หากเป็นเอกสารที่คัดลอกมาจากแหล่งอื่นจะจำกัดจำนวน
แนวการปฏิบัติ คือ ถ้าหากผลิตเอกสารคำสอนด้วยวิธีใดมีต้นทุนต่ำกว่าก็จะใช้วิธีนั้นผลิต ระหว่างพิมพ์สำเนาเอกสาร (Copy print) กับถ่ายเอกสาร
2. การผลิตสื่อโสตทัศนูปกรณ์ เนื่องจากฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาไม่มีงบประมาณที่จะจัดซื้อวัสดุมาบริการฟรี จึงจำเป็นต้องเรียกเก็บค่าวัสดุเพื่อนำมาทดแทนวัสดุที่ใช้ในการผลิต หรือหากผู้สอนมีวัสดุก็สามารถนำมาใช้ได้ เช่น ฟิล์ม เทปเสียง เทปโทรทัศน์ เป็นต้น
บริการผลิตสื่อโสตทัศนูปกรณ์ เช่น
2.1 เทปเสียง
2.2 เทปโทรทัศน์
2.3 ภาพถ่าย และสไลด์
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและ e-Book
3.1 การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาได้มีบริการคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยทำเป็นบทเรียนโปรแกรมที่สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้ทั้งภาพและเสียง เพียงแต่ผู้สอนนำเนื้อหามาให้ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา วิเคราะห์เนื้อหาและออกแบบบทเรียนให้ ซึ่งจะใช่เวลาประมาณ 45 วัน ก็จะสามารถดำเนินการให้เสร็จ
เดิมเคยนำไปบริการผ่านเครือข่าย แต่เนื่องจากมีข้อมูลจำนวนมาก นำให้การเรียน ผ่านเครือข่ายค่อนข้างจะช้า ปัจจุบันจึงใช้วิธีการเขียนลงแผ่น CD แล้วนำไปเรียนด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปแล้ว 30 เรื่อง ให้กับทุกคณะในวิทยาเขตปัตตานี
3.2 บริการ e-Book
ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้เริ่มพัฒนา e-Book มาตั้งแต่ประมาณเดือนมกราคม 2545 โดยมีเป้าหมายเพื่อจะนำเอกสารประกอบคำสอน จากเดิมเคยพิมพ์ลงกระดาษด้วยวิธีการต่างๆ ถ้าหากนำเอกสารคำสอนดังกล่าวมาพัฒนาให้อยู่ในเครื่องบริการฐานข้อมูล สามารถเรียกมาศึกษาได้ตลอดเวลาโดยไม่จำกัดสถานที่ ขณะนี้ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ให้บริการ e-Book แล้ว สามารถเข้าชมได้ทางเว็ปไซต์ของฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา
4. บริการห้องคอมพิวเตอร์เพื่อผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้เตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์คุณภาพสูงไว้จำนวน 20 เครื่อง ในห้องปรับอากาศ มี Software ทุกโปรแกรมที่ท่านจำเป็นต้องใช้ให้บริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรได้มีทรัพยากรในการพัฒนาสื่อ
ดังนั้นหากอาจารย์จะทำ Power Point หรือนักศึกษาประสงค์จะพิมพ์เอกสารหรือทำ Web site สามารถมาใช้บริการได้ที่ชั้น 2 อาคารฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ช่วงเวลา 9.00 - 21.00 น.ในวันราชการ
5. บริการโสตทัศนูปกรณ์
เป็นการบริการเครื่องฉาย เครื่องเสียง และเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้อาจารย์สามารถใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการสอน ติดต่อขอรับบริการได้ที่อาคารเรียนรวม
6. บริการห้องสอนทางไกล
ห้องสอนทางไกลได้เตรียมเครื่องมือและบุคลากรไว้บริการที่ชั้น 2 อาคาร 16 สามารถติดต่อเพื่อเรียนหรือสอนไปยังวิทยาเขตอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้ทั่วโลก.

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แนวคิดการสื่อสาร

แนวคิดการสื่อสาร

ความเป็นมาของแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายเทคโนโลยีทางการศึกษา
Techno มาจากภาษากรีกว่า Technologia หมายถึง ศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือทักษะ (art science or skill) และมาจากภาษาลาตินว่า Texere หมายถึงการสานหรือการสร้าง (กิดานันท์ มลิทอง, 2540) โดยมีผู้นักวิชาการให้คำนิยามของคำว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ไว้แตกต่างกันหลายมิติ ดังนี้
Good C. (1973) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดนเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ

Gane and Briggs (1974) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาจากการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมศาสตร์ ทฤษฎีการเรียนรู้ เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ และความสนใจในเรียนรู้ของแต่ละบุคคล

AECT (1977) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ซับซ้อน เป็นกระบวนการบูรณาการที่เกี่ยวกับมนุษย์ วิธีดำเนินการ แนวคิด เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดวิธีการนำไปใช้ การประเมินและการจัดแนวทางการแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งมวลของมนุษย์


กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาแนวคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุ อุปกรณ์ การจัดระบบสารสนเทศ และสิ่งต่าง ๆ มาใช้ในการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียน

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2545) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือการศึกษา เป็นเรื่องของระบบในการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน จากพจนานุกรมศัพท์ทางการศึกษาได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่าเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและประสานสัมพันธ์อย่างมีบูรณาการ ระหว่างบุคคล วิธีการ เครื่องมือ และการจัดระบบองค์การสำหรับวิเคราะห์ปัญหา วิธีแก้ปัญหา ดำเนินการประเมินผล และการจัดการแก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทุกลักษณะของการเรียนรู้ (สุวิทย์ และคณะ, 2540)

Heinic, Molenda and Russel (2000) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ให้ปฎิบัติได้ในรูปแบบของการเรียนการสอน อีกนัยหนึ่งก็คือ การให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (ทั้งด้านยุทธวิธี และด้านเทคนิค) เพื่อแก้ปัญหาทางการสอน เป็นความพยายามสร้างการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยออกแบบ ดำเนินการและการประเมินผลการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยในการเรียนและการสื่อสาร

จากความหมายต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และศาสตร์ทางการศึกษา มาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาทางการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน โดยแต่ละส่วนของกระบวนการมีความเป็นบูรณาการไม่ได้แยกเป็นอิสระจากกัน ทำให้นิยามของเทคโนโลยีทางการศึกษามีจุดเริ่มต้นจาก สอง แนวความคิด ดังนี้ (ชัยยงค์, 2545 : 12-13)


แนวคิดที่ 1 เน้นสื่อ (สื่อ+อุปกรณ์)
เป็นแนวคิดที่นำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ที่มีทั้งวัสดุสิ้นเปลือง (Software) และอุปกรณ์ที่คงทนถาวร(Hardware) แนวคิดนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการฟังด้วยหู และชมด้วยตา สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเน้นสื่อถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของครู นักเรียนซึ่งถือได้ว่าเป็นตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science Concept) ตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้น อาทิเช่น เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องรับโทรทัศน์ ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ และรายการอื่นๆ ที่อยู่ในรูปของอุปกรณ์ (Hardware) และวัสดุ (Software)


แนวคิดที่ 2 เน้นวิธีการ (สื่อ+อุปกรณ์ + วิธีการ)
เป็นแนวคิดที่ประยุกต์หลักการทางจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษย์วิทยา และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ เน้นวิธีการจัดระบบ (System Approach) ที่ใช้ในการออกแบบ การวางแผน ดำเนินการตามแผน และประเมินกระบวนการทั้งหมดของการเรียนการสอน ภายใต้วัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ด้วยการใช้ผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ การสื่อสาร เป็นพื้นฐานการดำเนินงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นตามแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science)


จากแนวความคิดดังกล่าวข้างต้น เทคโนโลยีการศึกษา ตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science Concept) นั้น เป็นแนวคิดที่คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจ เพราะเน้นสื่อสิ่งของ แต่แนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) ที่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับวิธีระบบ เป็นแนวคิดที่คนยังเข้าใจน้อย เพราะเน้นสื่อประเภทวิธีการ หรืออาจกล่าวโดยสรุป คือ เทคโนโลยีการศึกษา ตามแนวทางแรกนั้นเป็นเทคโนโลยีเครื่องมือ และแนวคิดอย่างหลังนั้นเป็นเทคโนโลยีระบบ
แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการศึกษา ยังมีภาพลักษณ์ของโสตทัศนศึกษา (Audio Visual Education) อยู่มาก เป็นผลทำให้เทคโนโลยีการศึกษามีภาพที่บุคคลทั่วไปมองและเข้าใจว่า ธรรมชาติของเทคโนโลยีการศึกษา เน้นหนักเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ ตลอดจนการนำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา นับได้ว่าการที่บุคคลจำนวนมากมีความเข้าใจในลักษณะดังกล่าวถือเป็นความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะธรรมชาติของเทคโนโลยีการศึกษา อีกมิติหนึ่งคือ เทคโนโลยีระบบที่เน้นเกี่ยวกับการจัดการ การออกแบบ การวางแผน การดำเนินการตามแผนและการประเมิน ซึ่งเป็นการนำวิธีระบบมาใช้เพื่อแก้ปัญหา หรือจัดสภาพการณ์ทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย


พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสหวิทยาการที่รวมเอาศาสตร์ต่าง ๆ มาประกอบกัน ได้แก่ พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Sciences) วิทยาการจัดการ (Management Science) และวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) จากศาสตร์ดังกล่าวจึงเกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา โดยมีพัฒนาการจำแนกได้ดังนี้
เทคโนโลยีการศึกษาสื่อสาร ได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นอย่างมากในช่วงปลาย ทศวรรษที่ 1960 เมื่อโลกได้หันเข้ามาสู่ยุคของคอมพิวเตอร์ ในด้านการศึกษานั้น ได้มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเป็นครั้งแรกในปี 1977 ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อบริษัท APPLE ได้ประดิษฐ์เครื่อง APPLE II ขึ้น โดยการใช้ในระยะแรกนั้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการบริหารจัดการ ต่อมาได้มีการพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อให้ใช้ได้ง่ายและสามารถช่วยในการเรียนการสอนได้มากขึ้น คอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่ครูและนักเรียนคุ้นเคย และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายจนทุกวันนี้ ยุคของมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้เริ่มขึ้นในปี 1987 เมื่อบริษัท APPLE ได้เผยแพร่โปรแกรมมัลติมีเดียครั้งแรกออกมา คือโปรแกรม HyperCard แม้ว่าโปรแกรมนี้จะต้องใช้เครื่องที่มีกำลังสูง ต้องใช้เวลาในการฝึกหัดมาก แต่ผลที่ได้รับก็น่าประทับใจ การพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้มีการดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาโปรแกรม Hyper Studio มาใช้ และได้รับความนิยมมากขึ้นในหลาย ๆ โรงเรียน อย่างไรก็ตามเพียงภายในสองปี มัลติมีเดียเพื่อการศึกษาก็ถูกแทนที่โดยสิ่งที่น่าตื่นเต้นมากกว่า นั่นก็คือ อินเทอร์เน็ต (Internet) นั่นเอง


ปัจจุบันนี้ อินเทอร์เน็ตมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว จากผลการสำรวจปี 2545 คนอเมริกันใช้คอมพิวเตอร์ถึง174 ล้านคน (หรือร้อยละ 66 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ) และมีการใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 143 ล้านคน (หรือร้อยละ 54 ของประชากร) ส่วนในประเทศไทยนั้นผลสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเขตเมืองใหญ่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 พบว่ามีคอมพิวเตอร์เป็นของตนเองเพียงร้อยละ 24 เท่านั้น ส่วนจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีประมาณ 10 ล้านคน ( ร้อยละ 16.6 ของประชากร) นอกจากนั้น ยังมีการสรุปด้วยว่าการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายถูกลงและมีอินเทอร์เน็ตคาเฟ่มากขึ้น
การพัฒนาอันน่ามหัศจรรย์ใจของอินเทอร์เน็ตในฐานะที่เป็นเครือข่ายแห่งเครือข่ายทำให้มีการเชื่อมโยงกันได้อย่างเสรีไม่มีการปิดกั้น ดังนั้นคนทุกคนจึงสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย พอ ๆ กับการที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั่วโลก และจากคุณสมบัติดังกล่าวนี้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษารูปแบบต่าง ๆ เพราะนักเรียนและครูสามารถสื่อสารถึงกันได้โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล์ การแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านระบบ Bulletin Board และ Discussion Groups ต่าง ๆ ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีที่ ทันสมัยยิ่งขึ้นในการโทรศัพท์หรือประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตจึงเพิ่มบทบาทสำคัญในการศึกษารูปแบบใหม่และยังช่วยเปลี่ยนบทบาทของครูจาก “ผู้สอน” มาเป็น “ผู้แนะนำ” พร้อมทั้งช่วยสนับสนุนให้เด็กสามารถเรียนและค้นคว้าด้วยตนเองอีกด้วย

เทคโนโลยีการศึกษา เริ่มต้นใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งการนำสื่อโสตทัศน์ และวิธีการเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีการนำทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีทางจิตวิทยาเข้ามา มีส่วนทำให้เกิดการสอนแบบต่าง ๆ มีการออกแบบระบบการเรียนการสอน และความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในระบบ นอกระบบ หรือตามอัธยาศัย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนเป็นกลุ่ม การสอนมวลชน การสอนทางไกล และการศึกษาตลอดชีวิต รวมทั้งแนวคิดการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปทั้ง Teacher Center Child Center หรือ Media Center รวมทั้งการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ การสอนผ่านเครือข่าย จะเห็นได้ว่าศาสตร์ของเทคโนโลยีการศึกษา มีพัฒนาการมาเป็นลำดับขั้น และประยุกต์ใช้เพื่อทำให้การศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการศึกษาจึงถือเป็นเครื่องมือการศึกษา ที่มุ่งจัดระบบทางการศึกษาด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่มองภาพแบบองค์รวมลักษณะของการดำเนินการแก้ปัญหา จะมุ่งวิเคราะห์สภาพการณ์ทั้งหมด จากนั้นจึงเป็นการจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยขึ้นมาใหม่ ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยยึดถือหลักว่าให้แต่ละส่วนประกอบย่อยทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนั้น เทคโนโลยีการศึกษา มองภาพระบบทางการศึกษาเป็นระบบใหญ่ที่ประกอบขึ้นด้วยระบบย่อย อีกหลายระบบด้วยกัน
สำหรับความเป็นมาของการเกิดแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา หากมองตามการเกิดขึ้นของแนวคิดกับ

การปฏิบัติจริงขององค์ความรู้ในแต่ละอย่าง ก็จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. เกิดแนวคิดก่อนแล้วนำไปสู่การปฏิบัติ ความรู้ประเภทนี้มักเป็นเรื่องที่เป็นการศึกษา
ค้นคว้าทดลองจากแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีที่มีคิดขึ้นเองหรือมีผู้คิดไว้ก่อนแล้ว แต่ยังไม่สามารถนำความคิดไปทดลองใช้ได้อย่างจริงจัง เช่น การค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดในการส่งสัญญาณวิทยุ ต่อมาจึงมีผู้นำแนวความคิดไปทดลองจนประสบความสำเร็จ
2. เกิดจากการปฏิบัติหรือการกระทำที่เป็นอยู่ แล้วนำไปสู่การสรุปเป็นแนวคิดหรือทฤษฎี
ความรู้ประเภทนี้มักจะเป็นเรื่องความเป็นไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือตามสามัญสำนึกของคนโดยทั่วไป เช่น การเกิดลมพัด น้ำขึ้นน้ำลง แรงโน้มถ่วง ซึ่งคนทั่วไปอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา หรือเรื่องของธรรมชาติ แต่นักคิดก็จะพยายามศึกษาและทำความเข้าใจถึงความเป็นไปเหล่านั้น แล้วนำมาสรุปเป็นแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต หรือสังเคราะห์ให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความเป็นไปต่าง ๆ
ความเป็นมาของแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา ในระยะแรก ๆ จึงเป็นลักษณะของการกระทำที่เป็นอยู่แล้ว หรือเป็นไปตามสามัญสำนึกของคนโดยทั่วไป เช่น การใช้รูปภาพ หรือ สื่อ อย่างง่าย ๆ มาประกอบการสอนหรือการบรรยาย โดยไม่ได้คิดถึงหลักการหรือทฤษฎีใด ๆ เพียงแต่คิดตามความความเข้าใจว่าย่อมทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเรื่องราวได้ดีกว่าการสอนโดย
ไม่มีอุปกรณ์ใด ๆ ส่วนแนวความคิดในยุคหลัง ๆ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน เป็นการพยายามนำเอาแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ เพราะแนวคิดหรือหลักการทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมักได้รับการพิสูจน์ หรือผ่านการศึกษาวิจัยมาแล้ว
------------------------------















เอกสารอ้างอิง

กิดานันท มลิทอง. 2540. เทคโนโลยีการศึกษา และนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์. 2546. สาระน่ารู้ทางเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2545. มิติที่ 3 ทางการศึกษา : สานฝันสู่ความเป็นจริง. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ บ.เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2533. แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและ
สื่อสารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิพย์เกสร บุญอำไพ. 2536. พัฒนาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์. ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เปรื่อง กุมุท. 2537. แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสอน. ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อ
สารการสอน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน. 2545. แนวทางปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการ
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กราฟฟิคโกร.
สุวิทย์ หิรัณยกาณฑ์ และคณะ. 2540. พจนานุกรมศัพท์ทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไอคิวบุค
เซ็นเตอร์.
สาโรช โศภีรักข์. 2546. รากฐานจิตวิทยาทางเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Briggs, Leslie J. 1977 . Insturction Design : Principles and Application. Educational Technology
Publications, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey.
Gagene, R.M.1985. The Conditions of Learning and theory of Instruciton (4 th ed.). New York:
Holt, Rinehart & Winston, 1985.
Good, C 1973. Dictionary of Education. (3 rd ed.) New York: McGraw – Hill Book Company.
“What is the history of the field ?”. AECT. Avalable : http://www.aect.org/standards/history.html.
June 5, 2004.
Saettler,L.Paul. 1990. The Evolution of American Educational Technology. Colorado: Libraries
Unlimited, INC.



http://pirun.ku.ac.th/~g4966059/concept.doc

สัปดาห์ที่ 10 บันทึกแนวคิดการสื่อสาร

ความหมายของการสื่อสาร
- เป็นกระบวนการถ่ายทอด / การแลกเปลี่ยนเรื่องราวความต้องการ ความคิด ความรู้สึกระหว่างผู้ส่ง - ผู้รับ
ผ่านสื่อช่องทาง
- ระบบเพื่อการติดต่อรับส่งช้อมูลซึ่งกันและกัน
หลักและทฤษฎีการสื่อสาร
บทวิเคราะห์ การประยุกต์ใช้แบบจำลองพื้นฐานการสื่อสาร ภายใต้บริบทและโครงสร้างของระบบบุญนิยมสู่ดิน ชาวหินฟ้าบริหารการสื่อสาร มหาวิทยาลัยเกริกบทนำแบบจำลองพื้นฐานการสื่อสาร เป็นแบบแผนที่ใช้อธิบายการสื่อสารของมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของหลักนิเทศศาสตร์ ที่นักวิชาการทางนิเทศศาสตร์นำมาวิเคราะห์หาประเด็นต่างๆ ที่สามารถอธิบายได้ว่า การสื่อสารมีพฤติกรรม มีกระบวนการอย่างไร ผลของการสื่อสารที่เกิดขึ้น สามารถนำมาจำแนกได้กี่ประเภท หรือมีลักษณะเด่นอย่างไร เพื่อนำไปเป็นกรอบคำอธิบาย หรือพิสูจน์ให้เห็นจริงในงานวิจัยทางนิเทศศาสตร์ปัจจุบัน การสื่อสารมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนา เพื่อให้เกิดอัตราการก้าวหน้าทั้งในระดับจุลภาค และระดับมหภาค การสื่อสารได้ถูกนำไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนาระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา มีคำถามที่น่าคิดว่า การสื่อสารเป็นผู้ถูกกระทำ (ในฐานะอุปกรณ์ เครื่องมือ) หรือเป็นผู้กระทำการ (ความคาดหวัง หรือ ผลที่ได้รับ) เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองการสื่อสาร ที่นักคิดชาติต่างๆ กล่าวไว้ สามารถนำมาอธิบายกระบวนการสื่อสารบุญนิยมได้อย่างไรขอบเขตการวิเคราะห์ของบทความ บทที่ 1 หลักและทฤษฎีการสื่อสาร จะกล่าวถึง พฤติกรรมการสื่อสาร สาเหตุแห่งพฤติกรรมการสื่อสาร กระบวนการสื่อสาร ลักษณะและประเภทของการสื่อสาร และผลของการสื่อสาร บทที่ 2 การสื่อสารบุญนิยม กล่าวถึงปรัชญา แนวคิด และอุดมการณ์ของระบบบุญนิยม บทนี้จะอธิบายสนับสนุนผลของการสื่อสาร ที่เกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้แบบจำลองพื้นฐานการสื่อสารในระบบบุญนิยม เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับ ความหมาย พฤติกรรม กระบวนการ และความคาดหวัง ของการสื่อสารบุญนิยม ว่ามีผลอย่างไรต่อสังคมบทความนี้ มีความมุ่งหวังที่จะใช้กระบวนการสื่อสารที่มีอยู่ ในฐานะเป็นทั้งเครื่องมือ (Implement) และเป็นผู้กระทำ หรือผลของการสื่อสาร (Result) มาเป็นสมมุติฐานการแก้ไขปัญหาทางสังคม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้หลักการและแนววิธีของบุญนิยมบทที่ 1 หลักและทฤษฎีการสื่อสารคำจำกัดความ“การสื่อสาร คือ กระบวนการที่ผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีปฏิสัมพันธ์กัน ในสภาพแวดล้อมทางสังคมเฉพาะ” (จอร์จ เกิร์บเนอร์)การสื่อสาร คือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นปฏิสัมพันธ์กัน ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารหมายความว่า1. การสื่อสาร อย่างน้อยจะต้องมีองค์ประกอบต่อไปนี้ จึงจะเรียกว่า “การสื่อสาร”(1) ผู้ส่งสาร หรือผู้กำหนดสาร (Sender, Source Creator) (2) สาร (Message, Information)(3) สื่อ หรือช่องทางในการนำสาร ส่งไป (Channel)(4) ผู้รับสาร (Receiver)(5) ผลการสื่อสาร (Feed back)2. การสื่อสาร เป็นกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย(1) การกำหนดสาร (Message Design & Source Data)(2) การส่งสารไปยังผู้รับ (Process Sending)(3) สารถึงผู้รับ และผู้รับก็รับรู้ถึงสารที่ส่งมานั้น (Awareness)โดยปกติ ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร จะประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ส่งสาร และฝ่ายผู้รับสาร หากผู้ส่งสาร และผู้รับสารเป็นบุคคลคนเดียวกัน เรียกว่า การสื่อสารภายในบุคคล และผู้ส่งสารมักจะเป็นผู้กำหนดสารที่จะส่งไปสารที่จะส่งไป มักจะถูกกำหนดขึ้นทั้งจากผู้ส่งสารเอง และจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของวจนภาษา หรือ อวจนภาษา ก็ตามกรณีที่ผู้กำหนดสาร และผู้ส่งสาร เป็นบุคคลคนเดียวกัน คือ สารที่ถูกกำหนดขึ้นนั้น เป็นนามธรรมที่เกิดขึ้น (Knowledge) หรือปรุงแต่งขึ้นเป็นองค์ความรู้ (Create) หรือผุดขึ้นโดยประจักษ์ (Insight) ของผู้ส่งสารนั่นเอง แล้วต้องการจะส่งสารนั้นไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นผู้รับสารกระบวนการส่งสาร จะเริ่มตั้งแต่ การบรรจุสารเข้าไปในระบบการส่ง (Message Input & Sourse Input) ซึ่งประกอบด้วย สาร สื่อ เวลา โอกาส โดยอาศัยช่องทางต่างๆ เป็นพาหะพาสารไปยังผู้รับ (Process) สารที่ส่งไป อาจจะอยู่ในรูปของภาษาพูด สัญลักษณ์ อักขระ สื่อ หรือช่องทางที่ใช้ในการส่ง ขึ้นอยู่กับว่าเนื้อสารนั้นจะอยู่ในรูปใดรูปแบบ ชนิดของสารพาหะ - ช่องทางเครื่องมือ - เทคโนโลยีเทคนิค - รูปแบบการส่งสารภาษาพูดWord, Speechบรรยากาศ อากาศ วัตถุที่สามารถพาเสียงไปได้อวัยวะปาก, ไมโครโฟน, โทรโข่งPhysical, Radiogram, Analog, Digitalภาษาท่าทางAction, Behaviorทัศนวิสัยของบรรยากาศ(สิ่งรบกวน แสง เงา สี)อวัยวะ, อุปกรณ์สร้างสัญลักษณ์PhysicalภาษาเขียนWritingอักขระ อักษร (ที่ผู้ส่งและผู้รับ สามารถรับรู้ร่วมกันได้)กระดาษ ปากกา หมึกหรือสี คอมพิวเตอร์Physical, Analog, Digitalภาษาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Language)– Digital – Analoge – Radioคลื่นไฟฟ้า และคลื่นแม่เหล็ก และคลื่นวิทยุเครื่องรับ-เครื่องส่ง วิทยุ วิทยุโทรทัศน์ ระบบอะนาล็อก ระบบดิจิตอลคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย, อินเตอร์เน็ตAnalog, Digitalในการส่งสาร จะต้องกำหนดเวลา เพื่อให้ผู้รับสาร มีโอกาสในการรับ เวลา หมายถึง จำนวนเวลา (วินาที, นาที, ชั่วโมง) และระยะเวลา (Time หรือ ครั้ง) โอกาส หมายถึง ช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดีที่ผู้รับสาร สามารถรับรู้ถึงสาร3. การสื่อสารจะสำเร็จสมบูรณ์ ต่อเมื่อผู้ส่งสารรับทราบถึงปฏิกิริยาของผู้รับสาร หลังจากรับสารนั้นแล้ว4. การสื่อสารจะมีคุณค่า ก็ต่อเมื่อ ผู้รับสารเกิดการรับรู้ (Awareness) เกิดองค์ความรู้ (Knowledge) เกิดความเชื่อถือ เชื่อมั่น จนยอมรับข้อเสนอหรือเงื่อนไขในสารนั้น (Acceptation) หรือเกิดการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง (Decision) ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior)5. การสื่อสารในความหมายของระบบบุญนิยม หรือ การสื่อสารบุญนิยม จะอาศัยกรอบทฤษฎีและคำอธิบายของการสื่อสารขั้นพื้นฐาน เพื่ออธิบายให้เห็นถึงพฤติกรรม กระบวนการ และผลของการสื่อสารที่มีทิศทางและเป้าหมาย จาก - ไปสู่ + (Benefit of disgorge)การจำแนกสารการจำแนกสารวจนสาร หมายถึง สารที่แทนด้วยคำพูด หรือการเขียนอวจนสาร โดยทั่วไป หมายถึง สารที่แทนด้วยสัญลักษณ์อื่นที่มิใช่คำพูดรูปธรรม(Object, Tangibles)Word, Speech, Talk aboutImage, Picture, Animation, Multimediaนามธรรม(Subject, Intangilbles)ความหมาย–Direct Meaning–Indirect Meaningทัศนสาร ()ภาษาท่าทางเครื่องมือดำเนินการ (Implement)Listening, Talking, Reading, Writing,Seeing, Thinkingผลที่เกิดขึ้น* (Result)1. ยอมรับ (Acceptation)2. ตัดสินใจ (Decision)3. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior)–ชั่วคราว–ถาวรวัตถุประสงค์ทางคุณธรรม (บุญนิยม)1. วิเคราะห์สาร เลือกสิ่งที่มีผลเป็นบวก (เชิงคุณธรรม) แล้วยอมรับ2. ตัดสินใจในการรับสารนั้น ตามหลักนิยามความจริง 7 ประการ*3. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนตามสารที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับระดับความหนักแน่นของความเชื่อ - ถ้าเชื่อฟัง เชื่อถือ (เลื่อมใส) ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบชั่วคราว - ถ้าเชื่อมั่น (ศรัทธา) ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบถาวร[หลักนิยามความจริง 7 ประการ หมายถึงหลักแห่งการตัดสินใจกระทำการ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอาศัยองค์ประกอบหลัก 7 ประการ คือ “ดี, ถูกต้อง, เป็นประโยชน์, ทำให้พ้นทุกข์ได้ หรือแก้ปัญหาได้, มีความเป็นไปได้, รู้ได้สัมผัสได้จากรูปธรรมและนามธรรม, และท้าทายให้มาพิสูจน์ได้”]ทฤษฎีและแบบจำลองการสื่อสารทฤษฎี คือข้อความเกี่ยวกับการทำงานของสิ่งต่าง ๆ หรือข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงต่าง ๆแบบจำลอง เกิดจากความพยายาม ที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทางการสื่อสารแบบต่างๆ จึงสร้างแบบจำลองขึ้นแบบจำลองทฤษฎีการสื่อสารมีอยู่ 4 แบบ คือ [*อาจารย์ประช้น วัลลิโก](1) ทฤษฎีการสื่อสารเชิงระบบพฤติกรรม(2) ทฤษฎีการสื่อสารเชิงพฤติกรรมการเข้าและถอดรหัส(3) ทฤษฎีการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์(4) ทฤษฎีการสื่อสารเชิงปริบททางสังคม1. ทฤษฎีการสื่อสารเชิงระบบพฤติกรรม มีลักษณะดังนี้1.1 เป็นการมองการสื่อสารทั้งระบบ คล้ายเครื่องจักรกล ระบบการรับส่งข้อมูลข่าวสารจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อมีแหล่งข่าวสาร (ผู้ส่ง) ส่งสัญญาณผ่านช่องทางการสื่อสารไปยังจุดหมายปลายทาง (ผู้รับสาร)1.2 เป็นการสื่อสารแบบตัวต่อตัว ที่เห็นหน้าตาของผู้รับและผู้ส่งได้1.3 มีการกระทำสะท้อนกลับ (Feed back)1.4 มีสภาพแวดล้อมทางสังคม จิตวิทยา กาลเวลา สถานที่ เป็นปัจจัยในการสื่อสาร และประกอบคำอธิบาย และให้เหตุผล1.5 เป็นการสื่อสารแบบต่อเนื่อง (เป็นวงกลม)1.6 เป็นการสื่อสารเรื่องใหม่ ๆ1.7 ผู้สื่อสาร เป็นผู้กำหนดความหมาย และเจตนารมย์ของสารที่ส่งไป2. ทฤษฎีการสื่อสารเชิงพฤติกรรมการเข้าและถอดรหัส มีลักษณะดังนี้2.1 ถือว่าการเข้ารหัสและการถอดรหัสเป็นหัวใจของการสื่อสาร2.2 กระบวนการเข้ารหัส และถอดรหัส คือ รูปแบบของการควบคุม ตรวจสอบ หรือมีอำนาจเหนือสิ่งแวดล้อม2.3 อธิบายกิจกรรมของการเข้ารหัส และถอดรหัส 3 ประการ2.3.1 การรับรหัส-ถอดรหัส (Perception or Decoding)2.3.2 การคิด-ตีความ (Cognition or Interpretation)2.3.3 การตอบสนอง-การเข้ารหัส (Response or Eencoding)3. ทฤษฎีการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ ทฤษฎีนี้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า3.1 การสื่อสาร หรือ ปัจจัยทางการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการสร้างปฏิสัมพันธ์ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาข่าวสาร กับบุคคล3.2 ปฏิสัมพันธ์แสดงออกมาทางพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้รับสาร ดังนั้น พฤติกรรมทั้งหลายจึงเกิดจากพฤติกรรมทางการสื่อสารทั้งสิ้นตัวแปรทางการสื่อสาร ที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ไม่เหมือนกัน มี 3 ประการ คือ3.2.1 ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร บุคลิกภาพของผู้ส่งสาร ความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร ทัศนคติของผู้ส่งสาร ความคิด อิทธิพลของข่าวสาร3.2.2 ปัจจัยผู้รับสาร ความรู้สึกของผู้รับสารต่อข่าวสาร บุคลิกภาพเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาตอบเนื้อหาข่าวสาร3.2.3 ปฏิกิริยาต่อเนื้อสารเดียวกัน จะแตกต่างกันไปตามอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดบุคลิกภาพของผู้รับสารที่แตกต่างกัน ตัวแปรทางการสื่อสาร ที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน มี 4 ประการ คือ(1) ปัจจัยผู้ส่งสาร(2) ปัจจัยผู้รับสาร(3) ปัจจัยทางด้านสังคม หมายถึงอิทธิพลทางสังคม เพราะ คนเราต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคม เพื่อให้สังคมยอมรับ(4) ลักษณะของเนื้อหาข่าวสาร ลักษณะของเนื้อหาข่าวสารสร้างปฏิกิริยาของผู้รับสารได้แตกต่างกัน ที่สำคัญคือ รูปแบบการเรียบเรียงเนื้อหา การจัดลำดับภาษาที่ใช้ การเลือกประเด็น การจัด sequence ของเนื้อหา4. ทฤษฎีเชิงปริบททางสังคม ทฤษฏีนี้อธิบายว่า4.1 กระบวนการสื่อสาร เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ภายใต้อิทธิพลทางสังคมและวัฒนธรรม4.2 สภาพแวดล้อมทางสังคมมีอิทธิพลอย่างสำคัญที่ทำให้การสื่อสารเกิดขึ้นได้ ดังนั้น สังคมเป็นปัจจัยที่ควบคุมแหล่งข่าวสาร4.3 สังคมเป็นปัจจัยการไหลของข่าวสาร และผลของข่าวสาร ทำให้การไหลของข่าวสารเปลี่ยนแปลงได้ทุกครั้งทุกเมื่อวิเคราะห์แบบจำลองการสื่อสารแบบจำลองการสื่อสาร ที่ผู้เขียนคัดเลือกและหยิบยกมาอธิบาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการสื่อสาร องค์ประกอบที่จำเป็นของการสื่อสาร และผลของการสื่อสาร ตลอดจนการวิเคราะห์และจำแนกประเภทของการสื่อสาร ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่คำอธิบายว่า การสื่อสารบุญนิยมมีกระบวนการอะไรที่สำคัญ และมีบทบาทอย่างไรต่อการแก้ไขปัญหาทางสังคม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบจำลองการสื่อสารดังกล่าว ได้แก่ (1) แบบจำลองของลาสเวลล์ (2) แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ ของแชนนันและวีเวอร์ และ (3) แบบจำลอง ABX ของธีโอดอร์ นิวคอมบ์1. แบบจำลองของลาสเวลล์ มุ่งอธิบายกระบวนการสื่อสาร ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการสื่อสาร จากคำถามที่ว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด กับใคร ด้วยผลประการใดเป็นกระบวนการสื่อสารแบบง่ายๆ ระหว่างบุคคลซึ่งต้องกระทำต่อหน้า และมีการคาดหวังผลจากการสื่อสารในเวลาเดียวกัน แต่ไม่มีการตรวจสอบผลสะท้อนกลับแบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์ เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการสื่อสารเชิงระบบพฤติกรรม และทฤษฎีการสื่อสารเชิงพฤติกรรมการเข้าและถอดรหัส เพราะเป็นการสื่อสารที่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานการสื่อสารครบถ้วน คือมีผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ตัวสาร และช่องทางการสื่อสาร (ข้อ 1.1) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลตัวต่อตัว (ข้อ 1.2) และผู้ส่งสาร จะเป็นผู้กำหนดสาร และเจตนารมย์ด้วยตนเอง (ข้อ 1.7) และในการสื่อสารระหว่างบุคคล จะต้องมีการเข้ารหัส-ถอดรหัส เพราะการสื่อสารระหว่างบุคคล จำเป็นต้องสำแดงผลในการสื่อสารด้วย (ข้อ 2.3)จากกระบวนการสื่อสารในขั้นตอน ใคร กล่าวอะไร อาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักเกณฑ์ข้อหนึ่งของทฤษฎีการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ ในเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาข่าวสาร กับบุคคล (ข้อ 3.1) นั้น เป็นปัจจัยหนึ่งทางการสื่อสารลาสเวลล์ ไม่ได้อธิบายถึงสภาพแวดล้อม หรือบริบททางสังคมว่า จะมีอิทธิพลต่อการสื่อสารตามแนวคิดของเขาแต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่อาจสรุปได้ว่า ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม จะมีอิทธิพลต่อการสื่อ ตามแบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์แต่แบบจำลองที่ลาสเวลล์กล่าวไว้ กลับมีประโยชน์อย่างมากต่อการนำไปใช้อธิบายโครงสร้าง และแบ่งประเภทของงานวิจัยทางการสื่อสาร โดยการจำแนกและวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสาร 5 เรื่องหรือ 5 ประเภท คือ (1) การวิเคราะห์แหล่งสาร (Control Studies Analysis)(2) การวิเคราะห์เนื้อหาของสาร (Content Analysis) (3) การวิเคราะห์สื่อที่ใช้เป็นช่องทางในการส่งสาร (Media Analysis) (4) การวิเคราะห์ผู้รับสาร (Audience Analysis) และ (5) การวิเคราะห์ผลของการสื่อสาร (Effect Analysis)2. แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ ของแชนนันและวีเวอร์ มีผัง Diagram ดังนี้source --> [message] --> transmitter -->[signal] --> noise source -->[received signal] --> receiver --> [message]--> destinationอธิบายได้ว่า กระบวนการสื่อสาร จะเกิดขึ้นและดำเนินต่อไปได้ จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ(1) ส่วนที่เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร (Information Source) (2) เครื่องส่งสาร (Transmetter) (3) เครื่องรับ (Receiver) (4) จุดหมายปลายทาง (Destination) (5) เนื้อหาข่าวสาร (Message)ส่วนที่เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร (Information Source) จะเป็นผู้กำหนดเนื้อหาสาระของสาร หรือ Message ส่งต่อไปยังเครื่องแปลง เพื่อแปลงเนื้อหาข่าวสารให้เป็นสัญญาณ (เข้ารหัส) แล้วส่งรหัสสัญญาณนั้นออกไปยังเครื่องรับ (Receiver) โดยผ่านช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม จากนั้นเครื่องรับก็จะแปลงสัญญาณที่รับมานั้น (ถอดรหัส) ให้เป็นเนื้อหาข่าวสารอีกครั้งหนึ่ง เพื่อส่งต่อไปให้ผู้รับสารตามเป้าหมาย ระหว่างเครื่องแปลงสัญญาณภาคส่ง กับเครื่องแปลงสัญญาณภาครับ อาจเกิดปัญหาและอุปสรรคทำให้สัญญาณสูญเสีย จึงต้องมีการส่งสัญญาณซ้ำ หรือเพิ่มแรงส่งของสัญญาณแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ ของแชนนันและวีเวอร์ เป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่เหมือนเครื่องจักรกลมาก มีลักษณะเป็นเส้นตรง ซึ่งต่างจากการสื่อสารของมนุษย์ จะมีลักษณะเป็นวงกลม ที่แต่ละภาคส่วนขององค์ประกอบการสื่อสาร มีความสลับซับซ้อน การนำทฤษฎีการสื่อสารเชิงพฤติกรรมการเข้ารหัสและถอดรหัส มาอธิบายเปรียบเทียบได้โดยอนุโลม คือ การเข้ารหัสและการถอดรหัสเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสาร (ข้อ 2.1) เพราะถ้ามีปัญหาหรืออุปสรรจากสิ่งรบกวน จะทำให้การเข้ารหัสและการถอดรหัสผิดพลาดได้ จึงต้องมีการควบคุมเป็นพิเศษ (ข้อ 2.2) เพื่อให้การรับรหัส มีการตีความหมาย และเกิดการสนองตอบและ เข้ารหัสต่อไป (ข้อ 2.3)อาจสรุปได้ว่า แบบจำลองการสื่อสารของแชนนันและวีเวอร์ไม่เหมาะที่จะนำมาอธิบายกับการสื่อสารระหว่างมนุษย์ แต่จะเป็นประโยชน์หากนำไปประยุกต์ใช้กับระบบการสื่อสาร โทรคมนาคม (Tele-communication) การสื่อสารมวลชน (Mas Media Communication) และเครือข่ายการสื่อสาร (Network Communication, Internet)3. แบบจำลองการสื่อสาร ABX ของ ธีโอดอร์ นิวคอมบ์ อธิบายได้ว่า การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้เพราะ มนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุลทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรามต่างๆ โดยการสื่อสารจะเป็นเครื่องมือช่วยให้การตกลงใจ ยอมรับในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนๆ กัน การสื่อสารจะทำให้บุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (A กับ B) สามารถดำรงและรักษาความเข้าใจในสิ่งที่สื่อสารกัน เมื่อเกิดความไม่สมดุลกัน หรือขัดแย้งกัน (X) มนุษย์ก็จะพยายามทำการสื่อสารกัน โดยการแสวงหาข้อมูล การให้ข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อขจัดอุปสรรคเหล่านั้นให้ได้แบบจำลองการสื่อสารของนิวคอมบ์ สามารถนำทฤษฎีการสื่อสาร ทั้ง 4 แบบมาอธิบายได้แบบจำลองการสื่อสาร ABX เป็นทฤษฎีการสื่อสารเชิงพฤติกรรมการเข้าและถอดรหัส เพราะในการสื่อสารที่จะให้อีกฝ่ายเข้าใจในความคิดและความต้องการของตน จะต้องมีการรับ-ถอดรหัส แล้วตีความ เพื่อตอบสนองการเข้ารหัสต่อไป (ข้อ 2.3)แบบจำลองการสื่อสาร ABX เป็นทฤษฎีการสื่อสารเชิงระบบพฤติกรรม ในเวลาเดียวกันก็มีส่วนสัมพันธ์ กับทฤษฎีการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์อีกด้วย เพราะการสื่อสารที่ต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน จำเป็นต้องคำนึงถึง ปัจจัยการสื่อสาร (ข้อ 1.4 และ 3.1 - 3.2) และจำเป็นต้องมีองค์ประกอบของระบบพฤติกรรมครบสมบูรณ์ คือต้องประกอบด้วยผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร (ข้อ 1.1) เป็นการสื่อสารแบบตัวต่อตัว (ข้อ 1.2) ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ หรือ Feed back (ข้อ 1.3) และเป็นการสื่อสารแบบต่อเนื่อง (ข้อ 1.5)นอกจากนี้เป็นการสื่อสารที่ต้องอาศัยบริบททางสังคม มาเป็นปัจจัยประกอบ กล่าวคือ ความเชื่อทางสังคมและวัฒนธรรม จะมีอธิพลต่อกระบวนการสื่อสาร (ข้อ 4.1) การควบคุมแหล่งข่าวสาร (ข้อ 4.2) และการเปลี่ยนแปลง (การไหล) ของข้อมูลข่าวสาร (ข้อ 4.3)แนวคิดของนิวคอมบ์ เป็นประโยชน์มากในการนำไปประยุกต์ใช้กับการสื่อสารบุญนิยม เพราะสามารถนำไปอธิบายหลักและวิธีการลดปัญหา และขจัดปัญหาทางจริยธรรม และความประพฤติของมนุษย์ได้ ตลอดจนใช้ในการโฆษณา และการณรงค์ได้อย่างเหมาะสมบทสรุปองค์ประกอบการสื่อสาร (Factor of Communication) ประกอบด้วย(1) ฝ่ายส่งสาร(2) ฝ่ายรับสาร(3) ตัวสาร(4) ช่องทางการสื่อสาร(5) ผลของการสื่อสารองค์ประกอบข้างต้น สามารถนำไปใช้อธิบายแบบจำลองการสื่อสาร หรือทฤษฎีการสื่อสาร ได้ทุกทฤษฎีบทที่ 2 การสื่อสารบุญนิยมการสื่อสารถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง ในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อลดปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง องค์กรบุญนิยม เป็นองค์กรที่มีปรัชญาแนวคิด อุดมคติและอุดมการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคนและสังคมอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นก่อนที่จะนำระบบการสื่อสารไปประยุกต์ใช้ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ระบบเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในด้าน คุณภาพ ปริมาณ เวลา โอกาส และงบประมาณขององค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องปรัชญา แนวคิด และอุดมการณ์ของระบบบุญนิยมคำว่า “บุญนิยม” ยังไม่คุ้นเคยในหมู่นักวิชาการ และแม้แต่นักการศาสนาก็ยังไม่มีผู้ใดอธิบายไว้ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2530 กลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมชาวอโศก หรือที่รู้จักกันดีในนามสำนักสันติอโศก ซึ่งมีสมณะโพธิรักษ์ เป็นประธานสงฆ์ และเป็นผู้นำ ได้อรรถาธิบายแจกแจงความหมาย ที่มา ปรัชญา แนวคิด ว่าระบบบุญนิยมได้ถือกำเนิดมาพร้อมกับการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา แต่เรียกกันในชื่ออื่น จนกระทั่งหลังพุทธกาลประมาณ 2,500 ปี กล่าวคือ ปี พ.ศ.2518 ซึ่งเป็นปีที่พระโพธิรักษ์ได้ประกาศแนวทางปฏิบัติศาสนาพุทธในแนวทางดั้งเดิม เรียกหมู่กลุ่มของตนเองว่า “อโศก” ตีความตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีแนวปฏบัติในศีลที่โดดเด่น จนเกิดความแตกต่างจากสงฆ์กระแสหลัก ทำให้เป็นอุปสรรคในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในขณะนั้น เพื่อให้การประกาศสัจธรรมเป็นไปอย่างเปิดเผย พระโพธิรักษ์จึงขอฉันทานุมัติจากที่ประชุมมหาเถรสมาคม ขอปกครองคณะสงฆ์ของตนเอง แยกออกจากสงฆ์กระแสหลัก ซึ่งปกครองโดยมหาเถรสมาคม จากนั้นเป็นต้นมา ระบบบุญนิยมจึงเริ่มก่อตัวขึ้น จากกลุ่มคนที่เรียกตนเองว่า “ชาวอโศก” โดยมีพื้นฐานมาจากการฝึกอบรมสมาชิกให้เคร่งครัดในหลักศาสนา จนเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดหมู่กลุ่ม ชุมชน โดยมีศาสนสถานซึ่งเรียกว่า “พุทธสถาน” เป็นสถานประกอบการทางศาสนา มีนักบวช ซึ่งเรียกว่า “สมณะ” (ฝ่ายชาย) และ “สิกขมาตุ” (ฝ่ายหญิง) เป็นผู้อบรมสั่งสอน เกิดระบบการศึกษาซึ่งเรียกว่า “สัมมาสิกขา” ขึ้นมารองรับการพัฒนาหมู่สมาชิกญาติธรรมถือได้ว่า องค์ประกอบ 3 ส่วนของชุมชนบุญนิยม ได้แก่ บ้าน (ชุมชนชาวอโศก) วัด (พุทธสถาน) และ โรงเรียน (สัมมาสิกขา) ซึ่งรวมกันเรียกว่า “บวร” เป็นปัจจัยนำเข้า (Input) ในการบริหารจัดการบุคคล องค์กร และระบบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของวิถีบุญนิยม ตามทฤษฎีอริยมรรค มีองค์ 8 ซึ่งถือได้ว่าเป็นทัศนะแม่บทสำคัญ หรือเป็นกระบวนทัศน์ (Paradigm) ของชาวอโศกในการพัฒนาองคาพยพต่างๆ มากมาย ทั้งทางด้านศาสนา, การเมือง การปกครอง (การเมืองอาริยะ), การเงิน การคลัง (กองบุญ สาธารณโภคี), การกสิกรรม (กสิกรรมไร้สารพิษ สามอาชีพกู้ชาติ), สุขภาพ (สุขภาพ 7 อ.), ชุมชนและสิ่งแวดล้อม (ชุมชนบุญนิยม), อุตสาหกิจชุมชน, การศึกษา (สัมมาสิกขา), การสื่อสาร, เศรษฐกิจ พาณิชย์, และการบริโภค รวม 11 ด้าน โดยมีองค์กรหลักของชาวอโศก คือ มูลนิธิธรรมสันติ สมาคมผู้ปฏิบัติธรรม กองทัพธรรมมูลนิธิ ในการบริหารกิจกรรม กิจการ และการจัดพิธีกรรมต่างๆ จนเกิดการแตกตัวขององค์กรบุญนิยม เครือข่ายชุมชน เพื่อรองรับกิจกรรม และกิจการ ซึ่งถือว่าเป็นธุรกรรมบุญนิยมตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมา (ปี พ.ศ.2518 – ปัจจุบัน) สมาชิกทุกคนในองค์กรต่างๆ ได้รับการฝึกอบรม พัฒนาตน สืบทอดจากคนรุ่นพ่อสู่ลูกถึงหลาน ให้เป็นผู้รู้ ลด ละ เลิก จากอบายมุข ถือมังสวิรัติ รักษาศีลอย่างเคร่งครัด ซึ่งนับว่านี่คือพื้นฐานการปฏิบัติธรรม นำไปสู่วัฒนธรรม และการสร้างชีวิต สร้างสังคม ชุมชน ของคนขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ เสียสละ สร้างสรร เพื่อประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ (พหุชนหิตายะ) เพื่อความสุขของมวลมนุษยชาติ (พหุชนสุขายะ) ประสานสัมพันธ์จนเกิดเครือข่ายชุมชนพึ่งตนเอง เรียกว่า เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย (คกร.) องค์กรนี้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อรองรับการขยายตัวของเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต หลักสูตร “สัจธรรมชีวิต” เป็นความร่วมมือระหว่าางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) และ สถาบันเพื่อการพัฒนาการเกษตรและชนบท จำเนียร สารนาค (สจส.) กับ เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย (คกร.) โดยมุ่งเปลี่ยนวิถีชีวิตเกษตร จากเป็นผู้มีหนี้สินและอบายมุข ไปสู่ชีวิตใหม่ ด้วยการลดรูรั่วของชีวิต ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (ปี พ.ศ.2544 – 2547) เพื่อพิสูจน์หลักธรรมของพระพุทธเจ้า และหลักการของระบบบุญนิยม ซึ่งมีได้ และเป็นจริงในสังคม ท่ามกลางความรุนแรงของกระแสทุนนิยม บริโภคนิยม ส่งผลให้เกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมกว่าร้อยละ 70 เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตได้จริงกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มญาติธรรม เน้นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ช่วงแรกอาศัยงบประมาณจากกองทุนที่สะสมขึ้นโดยชาวอโศก แม้จะเป็นกองทุนเล็กๆ แต่ทุกคนทำด้วยศรัทธากลายเป็นต้นแบบ (Model) ในการต่อยอดกิจกรรมให้แผ่ไพศาล จึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเสมอมา (ยิ่งให้ไป ยิ่งได้มา) นี่คือภารกิจในการสร้างทุนทางสังคม (Social Outputs) ของชาวบุญนิยม โดยอาศัยต้นทุนที่มีอยู่จริงภายในชุมชน กอบก่อรังสรรจนเป็นรูปธรรมชัดเจน ปัจจุบันรัฐเริ่มเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนามนุษย์ตามแนวทางระบบบุญนิยม จึงได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการต่างๆ จำนวนหนึ่ง ส่งผลให้กิจกรรมบุญนิยมแผ่กว้างเกื้อไปสู่ประชาชนมากขึ้น อีกรอบหนึ่ง เมื่อปลายปี พ.ศ.2547 หมู่มวลสมาชิกบุญนิยม ได้จัดสัมมนาปรับโครงสร้างองค์กรเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนงาน โครงการที่ขยายออกไป เพื่อขยายโอกาสในการรับใช้สังคมให้มากกว่าเดิม ในที่สุดจึงประกาศจัดตั้ง “สถาบันบุญนิยม” ขึ้น นับเป็นองค์กรหลักที่ครอบคลุมทั้งเนื้อหาสาระ กิจกรรม การบริหารจัดการ ในนามของ “ชาวอโศก… เพื่อมวลมนุษยชาติ” อันเป็นเป้าหมายและอุดมการที่มุ่งมั่นขององค์กรบุญนิยมความหมายโดยสามัญสำนึกแล้ว จุดหมายที่มนุษย์ทุกคนต้องการก็คือ สิ่งที่เรียกว่า ความสุข ซึ่งหมายถึง ความสุขที่เกิดจากการได้เสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ผ่าน ตา หู จมูก ผิวกาย และจิตใจ (อายตนะภายใน และอายตนะภายนอก) การได้มาซึ่งความสุขดังกล่าว มนุษย์ได้ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ มาเป็นเครื่องมือบำบัดให้เกิดความสุขเหล่านั้น และเรียกสภาพความสุขนั้นในทางศาสนาว่า “สวรรค์” สภาวะของสวรรค์ หรือความพอใจที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน มนุษย์จึงต้องแสวงหาสิ่งที่เรียกว่าความสุขมาบำบัด เพื่อรักษาดุลของสวรรค์ ให้คงอยู่นานที่สุดช่วงเวลาใด ปริมาณความสุขหรือความพอใจเกิดลดหายไป ปัญหาหรือความทุกข์ ก็ปรากฏขึ้น เรียกสภาพความทุกข์ในทางศาสนาว่า “นรก” มนุษย์ผู้นั้นก็จะวิ่งแสวงหาความสุขมาเติมให้เต็มอีกในครั้งต่อไป เพราะความไม่ยั่งยืนของความสุข ดังนั้นสภาวะนรก หรือ สวรรค์ จึงเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมุนวนเป็นวัฎจักรของชีวิตตราบใดที่มนุษย์ยังรักษาดุลของความสุขไว้ได้ ก็จะยังไม่เกิดพลังหรือแรงจูงใจใดๆ หรือไม่ต้องดิ้นรน ที่จะแสวงหาความสุขมาเพิ่มเติม รอจนกว่าดุลยภาพของความสุขจะสูญเสียไปในระดับที่เกิดความทุกข์ขึ้น มนุษย์จึงจะดิ้นรน แสวงหา เป็นแรงจูงใจที่จะต้องคิดหาวิธีการหรือศาสตร์ต่างๆ เพื่อนำมาบำบัดความทุกข์เหล่านั้นจากสมการ [1][ใช้เป็นฐานคิดต้นแบบ หรือกระบวนทัศน์ (Paradigm Model) เพื่ออธิบายการเกิดลัทธิทางการเมือง สังคม และระบบเศรษฐกิจโลก ดูรายละเอียดจาก สุนัย เศรษฐบุญสร้าง, อุดมการณ์ทางสังคมในพุทธศาสนา ตามแนวความคิดของสำนักสันติอโศก. (กรุงเทพฯ: บจก.ฟ้าอภัย, 2534), หน้า 92]ปัญหา ความทุกข์ = ความต้องการ / สิ่งตอบสนองความต้องการอธิบายได้ว่า “ความต้องการ” ของมนุษย์มี 2 ประเภท คือ (1) ความต้องการพื้นฐาน หรือ Need ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องแสวงหา เพื่อรักษาชีวิตให้อยู่รอด ปลอดภัย ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค (2) ความต้องการส่วนเกิน หรือ Want ได้แก่ลาภ ยศ สรรเสริม โลกียสุข เป็นความโง่เขลาของมนุษย์ ที่ดิ้นรนแสวงหาสิ่งเหล่านี้มาเสพ เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนมีฐานะ ความอลังการ เหนือมนุษย์ด้วยกันเอง เช่น เงิน เพชร คฤหาสน์หรู รถราคาแพงความต้องการที่สร้างปัญหาให้กับมนุษย์ ก็คือ ความต้องการส่วนเกิน ซึ่งก็คือตัวตนของกิเลส ตัณหา อุปาทานนั่นเอง การแก้ปัญหาด้วยการ เพิ่มสิ่งตอบสนองความต้องการ หรือสนองกิเลส ดูเหมือนจะระงับปัญหาได้ชั่วคราว แต่เมื่อเกิดความต้องการที่จะเสพอีก หากไม่สามารถสนองความต้องการ หรือสนองได้ในปริมาณน้อย ก็จะเกิดปัญหาหรือความทุกข์ ไม่ช่วยให้ปัญหาหมดไป เพราะตราบใดที่ ความต้องการซึ่งเป็นตัวเศษยังมีค่ามากกว่า 0 ปัญหาก็ยังมีค่าอยู่ ยังคงเป็นปัญหาต่อไปในทางตรงกันข้าม หากลดที่ตัวเศษจนไม่มีค่า ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปหาสิ่งตอบสนอง หรือเพิ่มค่าให้กับตัวส่วน ปัญหาก็จะเบาบางลง จนกว่าความต้องการตัวเศษจะมีค่าเป็น 0 (สูญ) ปัญหาก็จะหมดไป ไม่ต้องไปแสวงหาให้อาหารกิเลสให้เหนื่อยแรง ต่อจากนั้น ก็จะมีเวลา แรงงาน และความคิด เป็นพลังงานที่เหลืออยู่ หากมนุษย์ผู้นั้นไม่ทำสิ่งใดให้เกิดประโยชน์ ก็จะกลายเป็นหนี้ของสังคม หนี้ธรรมชาติ เพราะอากาศ แสงแดด ผืนดิน น้ำ ที่ตนเสพเข้าไป (ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน) ล้วนเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทั้งสิ้น (โดยเฉพาะอากาศสำหรับหายใจ) และมิใช่ของ “ฟรี” ที่ธรรมชาติหยิบยื่นให้ เพียงแต่มนุษย์ “ขอยืม” เอามาใช้ชั่วคราว (อาจถึง 100 ปี หรือน้อยกว่านี้) ถ้าไม่เสียสละ หรือทำความดีตอบแทนค่าอากาศ ค่าแสงสว่าง ค่าน้ำ ที่ตนเสพเข้าไปทุกวัน มนุษย์ผู้นั้นก็จะกลายเป็น “ขโมย” ไปทันที ดังนั้น สาระของชีวิต ก็คือการลดกิเลสให้ได้ก่อนตาย เพื่อว่าจะได้ตายอย่างไม่เป็นหนี้ระบบบุญนิยม ให้คำตอบเกี่ยวกับสาระของชีวิต และการทำชีวิตให้มีคุณค่า จากคำถามที่ว่าชีวิตนี้เกิดมาเพื่ออะไร?เกิดมาเพื่อตาย…..!ถ้าอย่างนั้น เกิดมาทำไม?เกิดมาทำงาน…..!ทำงานเพื่ออะไร?เพื่อให้ตายอย่างมีคุณค่า สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์.[2][ข้อความปกหลังของหนังสือ สรรค่า สร้างคน**]ความตาย กับการทำงาน จึงมิใช่ปัญหาสำหรับผู้ที่รู้และเข้าใจสัจจะดีแล้วนักปรัชญาวิถีพุทธ ได้หยิบยกเอาความทุกข์มาเป็นทัศนะแม่บทในการกำหนดทิศทางการแก้ปัญหาของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เข้าใจแก่นสารของชีวิตได้ลึกขึ้น การตรัสรู้หลักอริยสัจ 4 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เกิดจากมโนทัศน์ของความทุกข์ โดยเริ่มจากการค้นหาว่าปัญหาหรือความทุกข์คืออะไร (ทุกข์) เมื่อเห็นตัวตนของความทุกข์แล้ว จึงตั้งเป้าหมายให้แก่ตนเองว่า จะต้องไปเสียให้พ้นจากความทุกข์เหล่านั้นให้ได้ (นิโรธ) จึงแสวงหาหนทาง (มรรค) ในการกำจัดปัญหาหรือทุกข์เหล่านั้นด้วยวิธีการต่างๆ โดยเริ่มจากค้นหาต้นเหตุ (สมุทัย) เป็นเบื้องต้นก่อน นี่คือกลวิธีในการแก้ไขปัญหาที่ได้ผลมาแล้ว กลายเป็นทฤษฎีต้นแบบให้อีกหลายทฤษฎีได้นำมาใช้อ้างอิงจะเห็นว่าการมองชีวิตภายใต้มโนทัศน์ของความทุกข์ ก่อให้เกิดคำถามมากมาย และเป็นที่มาของการแสวงหาองค์ความรู้ในสาขาต่างๆความรู้ 4 ระดับองค์ความรู้ ที่เป็นบ่อเกิดแห่งความเจริญงอกงามของชีวิต เรียกว่า “พลังแห่งญาณ” (Insight Storm) หรือ ญาณวิทยา โดยจะแบ่งคุณลักษณะ และคุณสมบัติขององค์ความรู้ออกเป็น 4 ระดับ คือ1. ความรู้ในความรู้ หรือ โลกียะญาณ (Knowledge) หมายถึง ความรู้ในระดับที่มนุษย์สามัญทั่วไปเรียนรู้ได้ เพราะแค่รู้คำตอบ ถูก ผิด ตามหลักตรรก หรือตามทฤษฎีต่างๆ ซึ่งตัวตนของความรู้ในระดับนี้จะถูกนำไปใช้ในการสื่อสาระหว่างมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของรหัส (Code) สัญลักษณ์ (Symbol) สาระ (Message) หรือสัญญาณ (Signals) หรือสารสนเทศ (Information) ใดๆก็ตาม เพื่อนำไปตอบสนองสิ่งที่มนุษย์กระหายใคร่รู้2. ความรู้ในความจริง หรือ สัจจญาณ (Truth) หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากการแยกยะ วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่าง “ความรู้” กับ “ความจริง” เพื่อตอบคำถามว่า มีความจริงใดบ้าง ที่ตนยังไม่รู้ หรือ ยังไม่ได้รู้จริงใน ความรู้ที่เป็นความจริง นั้นๆ เป็นความรู้ที่อยู่ในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการเรียนรู้ในเรื่องของความดี-การเสียสละ และความชั่ว-การเอาเปรียบ ที่มีอยู่จริงในตัวตนของตน3. ความจริงในความรู้ หรือ สัจจานุโพธิ (Insight) หมายถึง ความรู้ที่บุคคลผู้นั้นเริ่มเข้าถึงสัจจะ ความจริงว่า การเลิกละชั่ว และประพฤติดี เป็นเหตุให้เกิดความดีงาม ความบริสุทธ์ ความถูกต้อง และความสุข จึงเกิดความเชื่อมั่น ที่จะลดเลิกความชั่วให้ถึงที่สุด และเพิ่มความดีให้มากขึ้น เพราะผู้นั้นได้รับผลจากการประพฤติปฏิบัติจริงที่เกิดขึ้น จากที่ตนมีจริง เป็นจริง ก็ยิ่งเกิดความมั่นใจ (สมาธิตั้งมั่น) จากที่ตนทำได้แล้วตามที่รู้ (สิ่งที่รู้กับ สิ่งที่เป็น คือสิ่งอันเดียวกัน) ความรู้ระดับนี้เป็นองค์ความรู้ที่พิสูจน์ได้เฉพาะตน (เอหิปัสสิโก, ปั้จจัตตัง) ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่า 2 ระดับแรก4. ความจริงในความจริง หรือ สัจจานุปัตติ (Extreme truth) เป็นความรู้ระดับที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะเกิดจากการปฏิบัติที่ถูกตรง (สัมมาอริยมรรค) จึงเกิดผล คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ลดได้จริง เป็นลำดับๆ และรู้แน่ใจว่า กิเลสเหล่านั้น “ตายสนิท” ไม่กลับมาเกิดอีก และสามารถแยกแยะได้ว่า กิเลส ตัณหา อุปาทาน เรื่องใด ส่วนใด ที่ตายสนิทแล้ว เรื่องใด ส่วนใดที่ยังเหลืออยู่ แม้จะไม่มีมาตราวัดเป็นรูปธรรม แต่ก็รับรู้ได้ด้วยตน เรียกความรู้ในระดับนี้ว่า “ตรัสรู้” ความรู้ระดับนี้ จะเกิดขึ้นได้เฉพาะวิญญูชน ที่ประพฤติปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด (อริยมรรค 8) โดยไม่เลือกว่าวิญญูชนผู้นั้นจะเป็นคนชนชาติใด เพศใด อาชีพใดการแสวงหาหนทางลดความต้องการส่วนเกิน และตรวจสอบตนเองว่าลดได้จริงหรือไม่เพียงใด เป็นองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่า และเกิดประโยชน์ต่อมนุษย์มากกว่า (ความรู้ระดับที่ 3 - 4) ความรู้ในระดับที่ 1 หรืออาจกล่าวได้ว่า ความรู้ในความรู้ เป็นเครื่องมือในการแสวงความรู้ในระดับที่สูงขึ้น(ศึกษารายละเอียดในคำอธิบาย บุญนิยมในมิติทางการเมือง การปกครอง บุญนิยมในมิติทางเศรษฐศาสตร์ และการพาณิช บุญนิยมในมิติการศึกษา ศิลปะ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้จากบทความในวารสารร่มพฤกษ์ ฉบับเดือนมีนาคม 2548 เรื่อง การสื่อสารองค์กรเชิงบูรณาการในองค์กรบุญนิยม (Establishment of Boonniyom Integrated Organizational Communication) บทที่ 1 หรือจากเอกสารอ้างอิงในบรรณานุกรม)บริบททางสังคมบุญนิยมวิถีชีวิตของสังคมมนุษย์ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ1. วิถีชีวิตโลกียะ หรือ โลกียชน (Virtual Life, Worldly Life) เป็นวิถีชีวิตที่มุ่งการบริโภค ตอบสนองความต้องการส่วนเกิน (กิเลส ตัณหา อุปทาน) เป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจาก การแย่งชิง และการบริโภคอย่างเสรี หรือ “แดก” (Drag Consumption) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณความเห็นแก่ตัวให้แก่ผู้บริโภค เพื่อแลกกับความสุขเสมือน (Virtul Happiness) หรือความสุขที่ในมิติของการได้เปรียบ ด้วยการใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ และโฆษณา ตลอดจนการรณรงค์2. วิถีชีวิตโลกุตระ หรือ อาริยชน (Truthful Life) วิถีชีวิตของชาวอาริยชน หรือชาวบุญนิยม มีพื้นฐานอยู่บนหลักศีลธรรมทางศาสนา มีแนวทางพัฒนาไปสู่การถ่ายเท (สำรอก) ความเห็นแก่ตัวออกไปจากจิตวิญญาณ พร้อมกับการเสียสละให้แก่สังคม บุญนิยมจึงไม่เป็นศรัตรูกับทุนนิยม หรือแม้แต่ลัทธิความเชื่อใดๆ เพราะเป็นฝ่ายให้ การลดความเห็นแก่ตัวลง และการเสียสละ จะเกิดมูลค่าของ “บุญ” เป็นความสุขที่ในมิติของการให้ หรือยอมเสียเปรียบ (เสียเปรียบ แปลว่า ได้ “เสียสละ”) เป็นบุญ3. วิถีชีวิตโลกันตะ หรือ อนาริยชน (Abysm Life) เป็นวิถีของคนที่ปฏิเสธทั้งสังคมโลกียชน และสังคมอาริยชน มีความเชื่อว่าตัวตนเป็นสิ่งสูงส่ง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น (ลัทธิฤาษี) มีวิถีชีวิตที่หมกมุ่นอยู่กับการอยู่นิ่งๆ (Non-Dynamic) เช่น นั่งสมาธิหลับตา ไม่ชอบสังคม เท่ากับปฏิเสธการสื่อสารระหว่างคนด้วยกันเองวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม 2 แบบแรก สามารถใช้แบบจำลองการสื่อสาร หรือทฤษฎีการสื่อสารที่มีอยู่ อธิบายได้ ดูเหมือนว่าภาระหน้าที่ของการสื่อสาร คือ ทำให้ฝ่ายผู้ส่งข่าวสาร กับผู้รับข่าวสารสื่อความหมายกันรู้เรื่อง เข้าใจกัน และมีปฏิสัมพันธ์กัน ก็หมดหน้าที่ ถือว่าบทบาทของการสื่อมีเพียงเท่านี้ ต่อจากนั้นผลที่เกิดขึ้นหลังมีการสื่อสารเสร็จสิ้นลง เป็นหน้าที่ของศาสตร์แขนงอื่นที่จะอธิบายต่อไปเป็นแนวคิดที่ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะเป็นคำอธิบายในเชิงกายภาพ เหมือนกับว่า ทฤษฎีการสื่อสารได้ถูกนำไปใช้เป็นเพียงเครื่องมือ (Tooling, Implement) เนื่องจากว่า เครื่องมือจะมีสถานะเป็นอัพยากฤตธรรม หรือมีความเป็นสาธารณะ ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในทางบวกหรือทางลบก็ได้ เช่น ใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการแสวงหา หรือรักษาผลประโยชน์ (เชิงได้เปรียบ) หรือ ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสรร เสียสละ (เชิงเสียเปรียบ) เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น หรือประโยชน์สาธารณะก็ได้แต่เนื่องจากว่า นักคิดในโลกส่วนใหญ่มีแนวคิดตามอัตภาพ (ตัวตนที่แท้จริง) ของแต่ละคน ซึ่งมีความเชื่อว่า การได้เปรียบ หรือได้มา หรือของฟรี เป็นความถูกต้อง เป็นมูลค่าที่ควรแสวงหา หรือสมควรได้รับ (ตามหลักเศรษฐศาสตร์ทุนนิยม) เรียกว่า วิถีโลกียะ หรือวิถีโลก (Worldly) ซึ่งสวนกระแสกับความคิดของนักการศาสนนิยม* ซึ่งมีความเชื่อว่า การเสียสละ หรือได้ “เสียเปรียบ” เป็นความถูกต้อง เป็นมูลค่าที่แท้และเป็นสาระของชีวิต (ตามหลักเศรษฐศาสตร์บุญนิยม หรือเศรษฐศาสตร์อาริยชน)[*นักการศาสนานิยม แบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ ค่ายเทวนิยม กับค่ายอเทวนิยม ค่ายเทวนิยม ได้แก่ กลุ่มคนที่นับถือศาสนาต่างๆ ในโลก ส่วนค่ายอเทวนิยม ได้แก่กลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ ที่ยึดแนวทางทฤษฎีอริยมรรค มีองค์ 8 ประการ (กลุ่มที่นับถือพุทธแนวเถรวาท และแนวมหายาน จะใช้กรอบคำอธิบายที่มีนัยคล้ายกัน แต่กลุ่มที่นับถือพุทธแนว อริยะมรรค มีองค์ 8 ประการ จะใช้กรอบคำอธิบายในความหมายที่เคร่งครัดตามแนวพุทธดำรัส ดูรายละเอียดจาก สุนัย เศรษฐบุญสร้าง, อุดมการณ์ทางสังคมในพุทธศาสนา ตามแนวความคิดของสำนักสันติอโศก. (กรุงเทพฯ: บจก.ฟ้าอภัย, 2534), หน้า 92]ดังนั้น คำอธิบายที่จะนำไปใช้กับการสื่อสารบุญนิยม จะต้องขยายขอบเขตไปในเชิงจิตภาพ ด้วย กล่าวคือ นอกจากจะใช้องค์ประกอบของการสื่อสาร กระบวนการสื่อสาร และผลของการสื่อสาร มาเป็นกรอบวิเคราะห์พฤติกรรมการสื่อสารแล้ว และจะต้องมีการเลือกสรร ผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วยว่า เป็นไปในเชิงสร้างสรร (สร้างอย่างเลือกสรร หรือเลือกสร้างสิ่งที่ไม่เป็นพิษภัยต่อจิตวิญญาณ และสุขภาวะ ของมนุษย์) หรือ สรรค์สร้าง (สร้างตามอัตราความต้องการของการบริโภค)การสื่อสารบุญนิยมมีกรอบความคิดในเรื่องของกระบวนการสื่อสาร ดังนี้1. แบบจำลองการสื่อสารบุญนิยม อาศัยแนวคิดพื้นฐานของนักคิดชาวตะวันตกมาต่อยอดความคิด เพื่อจัดระเบียบหรือแนวปฏิบัติในการนำระบบการสื่อสารทั้งหมดที่มีอยู่ ไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการลดปัญหาทางสังคม และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์2. ทฤษฎีแบบจำลองการสื่อสาร เป็นระบบ และเครื่องมือ ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มี 2 แบบ คือ ชั่วคราวหรือถาวร ขึ้นอยู่กับระดับความเชื่อและระดับคุณค่าขององค์ความรู้ นับเอาการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก หรือเชิงคุณธรรม เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการสื่อสารแบบจำลองการสื่อสารบุญนิยมแบบจำลองการสื่อสารที่นำมาอธิบาย และประยุกต์ใช้ คัดเลือกมา 3 แบบ คือ4.1 แบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์ มุ่งอธิบายกระบวนการสื่อสาร ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการสื่อสาร จากคำถามที่ว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด กับใคร ด้วยผลประการใดการสื่อสารบุญนิยมจะให้ความสำคัญกับเนื้อหาของสาร มากกว่าองค์ประกอบอื่น โดยจะเลือกสรรเฉพาะสาระที่เป็นคุณในเชิงบวก ตามปรัชญา และอุดมการณ์ของระบบบุญนิยม เรื่องที่เป็นสาระจะถูกกล่าวถึง ส่วนเรื่องที่ไม่มีสาระจะถูกเมินเฉย ผู้ส่งสาร มักจะให้ความสำคัญกับผู้มีศีลก่อน เพราะสร้างความเลื่อมใสศรัทธาได้ดีกว่าบุคคลทั่วไป โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม ผู้รับสาร จะมีการคัดกรองก่อนว่าสมควรจะรับสารในเรื่องใด เป็นลำดับก่อนหลังผลที่ได้รับ จะเน้นที่คุณค่าแก่นแท้ของคน มากกว่าปริมาณ เป็นการคัดคุณภาพของคนมากกว่าปริมาณ ตามคำขวัญของชาวอโศก ที่ถูกสลักไว้บนแท่งหินฟ้า หรือ Monolith (ตั้งอยู่ในชุมชนปฐมอโศก จ.นครปฐม) ว่า“เน้นเนื้อ ให้เหนือกว่า มาก เน้นลาก แม้ยากกว่า แล่น เน้นจริง ให้ยิ่งกว่า แค่น เน้นแก่น ให้แน่นกว่า กว้าง”4.2 แบบจำลองการสื่อสารของแชนนันและวีเวอร์ นำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารช่องทางการสื่อสาร Tele-communication เช่น เว็บไซต์ Mass media Communication เช่น หนังสือพิมพ์ ข่าวอโศกรายปักษ์ วารสารเราคิดอะไร ดอกหญ้า ดอกบัวน้อย แสงสูญ สารอโศก รายการวิทยุกระจายเสียง4.3 แบบจำลองการสื่อสาร ABX นำมาประยุกต์ใช้มากที่สุด เพราะให้ความสำคัญกับ “คน” เท่าๆ กับ “ระบบ” (คน คือ A, B ระบบ คือ X) คนดี ย่อม สร้างระบบดี คนเลว ย่อมสร้างระบบเลว ระบบที่ดี จะส่งเสริมให้คนดี ทำดีได้ง่าย ในขณะเดียวกันก็จะป้องปรามให้คนเลว ทำเลวได้ยากขึ้น ในทำนองเดียวกัน ระบบเลว จะกีดกันให้คนดี ทำดียาก แต่จะส่งเสริมให้คนเลว ทำเลวได้มากขึ้นจะสื่อสารอย่างไร เพื่อให้คนเข้าใจระบบ ตัวแทนของคน หมายถึง ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร การสื่อสารบุญนิยม ยังคงให้ความสำคัญของนักบวช หรือผู้มีศีลเคร่งครัดกว่า เป็นผู้ส่งสาร ส่วนผู้รับสาร จะเป็นกลุ่มที่ถูกคัดเลือกว่าควรจะรับสารในเรื่องใด ตามลำดับก่อนหลัง เพื่อป้องการการสับสน และการเรียนรู้ การปฏิบัติ และการประเมินค่าจริงของแต่ละบุคคลตัวแทนของระบบ หมายถึง สาร (Message) ที่ถูกคัดเลือกแล้ว หรือสิ่งที่เป็นบริบททางสังคม ที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ และความประพฤติ หรือเป็นจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดกระบวนการทางสังคม หรือแรงผลักดันทางสังคม จากเลวไปสู่ดี จากดีไปสู่สิ่งที่ดีกว่า จากสิ่งที่ดีกว่า ไปสู่สิ่งที่ดีที่สุด จากสิ่งที่ดีที่สุด ไปสู่สิ่งที่สัมบูรณ์ นับเป็นผลสุดท้ายที่ต้องการของการสื่อสารบุญนิยมบทสรุปสมมุติฐานของการประยุกต์ใช้การสื่อสารบุญนิยม คือ เราสามารถลดปัญหาทางสังคมได้ดี หรือมากน้อยเพียงใด ถ้าหากมีความเข้าใจในกระบวนการสื่อสาร ปัจจัย องค์ประกอบการสื่อสาร ผลของการสื่อสาร ตลอดจนบริบททางสังคม ย่อมส่งผลให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นไปอย่างคุ้มค่าอภิธานศัพท์“สร้างสรร” หมายถึง การสร้างอย่างชาญฉลาด หรือการสร้างอย่างเลือกสรรแล้ว ว่าสิ่งที่สร้างนั้นมีบุญ มีคุณ มีค่า เกิดประโยชน์ ประหยัด“อาริยะ” หมายถึง อารยะ คือความเจริญทางด้านวัตถุ รวมกับ อริยะ คือความเจริญงอกงามของจิตวิญญาณ"บุญนิยม" หมายถึง แบบแผนหรือวิถีชีวิต ของบุคคล ชุมชน และสังคม และหมายถึง ระบบ แนวคิด หลักปฏิบัติ รูปแบบ ทั้งในด้านศาสนา การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรม ที่มีทิศทาง และเป้าหมาย จากการลด ละ กิเลส ตัณหา อัตตา ทุกระดับ ไปสู่ความมักน้อย สันโดษ ขยัน ซื่อสัตย์ เสียสละ สร้างสรรค์ โดยมีรูปธรรมที่ชัดเจน ได้แก่ เลี้ยงง่าย (สุภระ) บำรุงง่าย (สุโปสะ) มักน้อย (อัปปิจฉะ) ใจพอ สันโดษ (สันตุฎฐิ) ขัดเกลา (สัลเลขะ) มีศีลเคร่ง (ธูตะ) มีอาการที่น่าเลื่อมใส (ปสาทิกะ) ไม่สะสม (อปจยะ) ยอดขยัน (วิริยารัมภะ)"สาธารณโภคี" หมายถึง แบบแผนหรือวิถีชีวิต การบริหารจัดการ บุคคล กลุ่ม องค์กร ให้มีคุณลักษณะพึ่งตนเองได้ สร้างสรร ขยัน อดทน ไม่เอาเปรียบใคร ตั้งใจเสียสละ จนเกิดความสามารถ และความเต็มใจในการทำงานฟรี ปลอดหนี้ ไม่มีดอกเบี้ย และเฉลี่ยทรัพย์เข้ากองบุญ เพราะเชื่อมั่นและศรัทธาว่า การได้มาคือ บาป การเสียสละคือ บุญขุมทรัพย์ หมายถึง ข้อผิดพลาดที่ผู้อื่นบอก หรือชี้ ที่เรียกว่าขุมทรัพย์ เพราะมันมีค่าที่ประเมินไม่ได้ ไม่สามารถซื้อเป็นตัวเงินได้ การไปรู้ข้อบกพร่องของคนอื่น ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะในสังคมก็ปฏิบัติก้นอยู่ดาษดื่น แต่การรู้ข้อบกพร่องของตน นั้นยากกว่า ผู้ที่จะบอกข้อผิดให้เรารู้ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเขาต้องเสี่ยงกับการตำหนิ เกลียดชัง หรือไม่ใช่หน้าที่ของตนที่จะทำอย่างนั้น แม้จะจ้างด้วยเงินก็ไม่มีใครหาญกล้าไปบอก โดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะสูงส่งทางสังคม หรือผู้มีอำนาจให้คุณให้โทษได้ ก็ยิ่งมีมูลค่าของค่าจ้างสูงไปด้วยอุดมคติ หมายถึง สุดยอดแห่งความคิดความวาดหวังไว้อุดมการณ์ หมายถึง สุดยอดในการกระทำเพื่อไปสู่สุดยอดแห่งความวาดหวังไว้http://www.krirk.ac.th/faculty/Communication_arts/truexpert/@person/04/042/case/48_0422@communication.htm