วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การผลิตสื่อการสอน

ศูนย์บริการสื่อการสอน การประเมินการใช้สื่อ และการเลือกสื่อ
ศูนย์บริการสื่อการสอน
ศูนย์สื่อการเรียนการสอนคืออะไร การดำเนินการและการจัดตั้งศูนย์สื่อการเรียนการสอนในสถานศึกษาของประเทศไทย ส่วนมาก จะดำเนินการเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่สมบูรณ์ มีศูนย์สื่อการเรียนการสอนเพื่อให้บริการครูและนักเรียน โดยไม่ได้คำนึงว่าบทบาทของศูนย์สื่อการเรียนการสอนที่แท้จริงคืออะไร
เมอร์ริลและดรอบ (Merrill and Drob, 1997) ได้ให้ความหมายของศูนย์สื่อการสอนว่า เป็นองค์กรที่ทำกิจกรรมที่ประกอบด้วยผู้นำ, คณะทำงาน และสถานที่เก็บอุปกรณ์ หนึ่งในส่วนนั้นมีพื้นที่ในการผลิต การจัดหา การนำเสนอของวัสดุการสอน การจัดหาเพื่อพัฒนา และการวางแผนให้บริการซึ่งสัมพันธ์กัหลักสูตรและการสอน ปรัชญาพื้นฐานของการจัดองค์การและการจัดการของศูนย์ สื่อการเรียนการสอน คือประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเพื่อการเรียนรู้สามารถ ควบคุม ประสิทธิภาพให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่าย การให้บริการ การให้คำปรึกษา อย่างมืออาชีพบนกระบวนการที่ได้มาตรฐาน เป็นองค์กรที่เป็นศูนย์กลางและจัดการระบบควบคุม ทั้งหมด เพื่อเรียนรู้ (Wang, 1994) อาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ศูนย์สื่อการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดองค์กรเพื่อการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ลักษณะของศูนย์สื่อการเรียนการสอน
1. ศูนย์สื่อเพื่อการผลิตและเผยแพร่ (Production and Distribution) เป็นศูนย์ที่ทำหน้าที่ ในการผลิตสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา การผลิตสื่อการสอนในรายวิชาต่าง ๆ การจัดผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดการสอน จัดอบรมการผลิตสื่อและจำหน่ายสื่อให้กับผู้สนใจ
2. ศูนย์สื่อเพื่อให้บริการและสนับสนุนการเรียนการสอน (Service and Support) เป็นศูนย์ที่ให้บริการสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งอุปกรณ์การสอน การให้คำปรึกษา และข้อแนะนำในการใช้สื่อเป็นศูนย์ที่มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายมีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์สื่อให้บริการยืม และสนับสนุนการเรียนการสอน และเป็นศูนย์ที่ทุกคนเข้ามาใช้ประโยชน์ได้
3. ศูนย์สื่อครบวงจรเป็นศูนย์ที่รวมรูปแบบของศูนย์สื่อเพื่อผลิตและบริการเข้าไว้ใน รูปแบบเดียวกัน เป็นศูนย์ที่มีการจัดพื้นที่ในการผลิต และให้บริการสื่อทุกประเภท ติดตั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้บริการกับผู้ใช้ มีการฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา จัดอบรมการผลิตสื่อและเผยแพร่นวัตกรรม ให้ยืมอุปกรณ์การศึกษาและจัดจำหน่วยสื่อการสอนที่ศูนย์ผลิตขึ้น
4. ศูนย์สื่อเฉพาะทาง เป็นศูนย์ที่ดำเนินการเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งเป็นพิเศษอาจเป็นเพียงศูนย์สื่อเพื่อการผลิต ศูนย์สื่อเพื่อการบริการ หรือศูนย์สื่อที่ครบวงจรก็ได้ แต่จะทำงานเพื่อประโยชน์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
ศูนย์สื่อการเรียนการสอน
ในระดับสถาบัน วิทยาลัยหรือโรงเรียนก็จะมีระดับของศูนย์สื่อการเรียนการสอนที่แตกต่างไป มีการเรียกชื่อแตกต่างกันไป ดังนี้
ศูนย์โสตทัศนศึกษา (Audio-Visual Education Center)
ศูนย์โสตทัศน์ (Audio-Visual Center)
ศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipment Center)
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology Center)
ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Educational Communication and Technology Center) ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology and Innovation Center)
ศูนย์สื่อ (Media Center)
ศูนย์สื่อการสอน (Instructional Media Center)
ศูนย์สื่อการศึกษา (Educational Media Center)
ศูนย์บริภัณฑ์สื่อ (Media Resource Center)
ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา (Educational Resource Center)
ศูนย์สื่อการเรียนการสอน (Learning Resource Center)
ศูนย์วิทยบริการ (Academic Resources Center)
ศูนย์บริการสื่อการสอน (Media Service Center)
จะเลือกใช้สื่ออย่างไร
การเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะสื่อจะช่วยให้บทเรียนเพิ่ม ความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น สื่อบางชนิดมีประโยชน์ทางด้านการใช้ (เช่น ภาพเคลื่อนไหว ความเหมือนจริง) บางชนิดมีข้อจำกัดทางด้านการศึกษา (เช่น ขนาดห้องเรียนขนาดของชั้นเรียน) รายละเอียดคุณสมบัติเฉพาะของสื่อเหล่านี้ได้จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อให้เลือกใช้ ได้สอดคล้อง กับความต้องการของแผนการสอน
งานที่ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา เอื้อต่อการเรียนการสอน
1. การผลิตเอกสารคำสอน มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้สำนักวิทยบริการ โดยฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นผู้ผลิตเอกสารคำสอน โดยใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
1.1 วิทยาเขตจะเก็บเงินจากนักศึกษามาจำนวนหนึ่ง ซึ่งปีการศึกษา 2544-2545 เก็บคนละ 150 บาท ต่อภาคการศึกษา
1.2 ใช้เครื่องมือและบุคลากรฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ในการผลิตเอกสารคำสอน โดยเน้นการสนับสนุนให้เอกสารคำสอนที่อาจารย์เรียบเรียงหรือแต่งเอง สามารถพิมพ์ไปแจกนักศึกษาได้โดยไม่จำกัดจำนวน แต่หากเป็นเอกสารที่คัดลอกมาจากแหล่งอื่นจะจำกัดจำนวน
แนวการปฏิบัติ คือ ถ้าหากผลิตเอกสารคำสอนด้วยวิธีใดมีต้นทุนต่ำกว่าก็จะใช้วิธีนั้นผลิต ระหว่างพิมพ์สำเนาเอกสาร (Copy print) กับถ่ายเอกสาร
2. การผลิตสื่อโสตทัศนูปกรณ์ เนื่องจากฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาไม่มีงบประมาณที่จะจัดซื้อวัสดุมาบริการฟรี จึงจำเป็นต้องเรียกเก็บค่าวัสดุเพื่อนำมาทดแทนวัสดุที่ใช้ในการผลิต หรือหากผู้สอนมีวัสดุก็สามารถนำมาใช้ได้ เช่น ฟิล์ม เทปเสียง เทปโทรทัศน์ เป็นต้น
บริการผลิตสื่อโสตทัศนูปกรณ์ เช่น
2.1 เทปเสียง
2.2 เทปโทรทัศน์
2.3 ภาพถ่าย และสไลด์
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและ e-Book
3.1 การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาได้มีบริการคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยทำเป็นบทเรียนโปรแกรมที่สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้ทั้งภาพและเสียง เพียงแต่ผู้สอนนำเนื้อหามาให้ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา วิเคราะห์เนื้อหาและออกแบบบทเรียนให้ ซึ่งจะใช่เวลาประมาณ 45 วัน ก็จะสามารถดำเนินการให้เสร็จ
เดิมเคยนำไปบริการผ่านเครือข่าย แต่เนื่องจากมีข้อมูลจำนวนมาก นำให้การเรียน ผ่านเครือข่ายค่อนข้างจะช้า ปัจจุบันจึงใช้วิธีการเขียนลงแผ่น CD แล้วนำไปเรียนด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปแล้ว 30 เรื่อง ให้กับทุกคณะในวิทยาเขตปัตตานี
3.2 บริการ e-Book
ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้เริ่มพัฒนา e-Book มาตั้งแต่ประมาณเดือนมกราคม 2545 โดยมีเป้าหมายเพื่อจะนำเอกสารประกอบคำสอน จากเดิมเคยพิมพ์ลงกระดาษด้วยวิธีการต่างๆ ถ้าหากนำเอกสารคำสอนดังกล่าวมาพัฒนาให้อยู่ในเครื่องบริการฐานข้อมูล สามารถเรียกมาศึกษาได้ตลอดเวลาโดยไม่จำกัดสถานที่ ขณะนี้ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ให้บริการ e-Book แล้ว สามารถเข้าชมได้ทางเว็ปไซต์ของฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา
4. บริการห้องคอมพิวเตอร์เพื่อผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้เตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์คุณภาพสูงไว้จำนวน 20 เครื่อง ในห้องปรับอากาศ มี Software ทุกโปรแกรมที่ท่านจำเป็นต้องใช้ให้บริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรได้มีทรัพยากรในการพัฒนาสื่อ
ดังนั้นหากอาจารย์จะทำ Power Point หรือนักศึกษาประสงค์จะพิมพ์เอกสารหรือทำ Web site สามารถมาใช้บริการได้ที่ชั้น 2 อาคารฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ช่วงเวลา 9.00 - 21.00 น.ในวันราชการ
5. บริการโสตทัศนูปกรณ์
เป็นการบริการเครื่องฉาย เครื่องเสียง และเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้อาจารย์สามารถใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการสอน ติดต่อขอรับบริการได้ที่อาคารเรียนรวม
6. บริการห้องสอนทางไกล
ห้องสอนทางไกลได้เตรียมเครื่องมือและบุคลากรไว้บริการที่ชั้น 2 อาคาร 16 สามารถติดต่อเพื่อเรียนหรือสอนไปยังวิทยาเขตอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้ทั่วโลก.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น